วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การวิเคราะห์บทความเรื่อง “โลกธรรม 8 กับผม” ของท่าน ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์(EA713)

ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทความจากการวิเคราะห์
: สรุปบทความโดยย่อได้ว่า    บทความเรื่อง “โลกธรรม 8 กับผม” ของท่าน
ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำงานในชีวิตราชการ พร้อมกับการน้อมนำพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้แก่ “โลกธรรม 8 กับผม” คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และทุกข์ ตลอดจนเรื่องของกฎไตรลักษณ์คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
ท่านได้เล่าเรื่องราวในขณะที่ทำงาน ตั้งแต่เริ่มต้นเป็นพนักงานระดับต้น จนขึ้นสู่ระดับสูงสุด เรื่องของลาภ ยศ สรรเสริญ และสุขนั้นมีเข้ามาให้เห็นตลอด ขึ้นอยู่กับว่าตนเองเลือกจะปฏิบัติเช่นใดกับเหตุการณ์เหล่านั้นบุคคลเหล่านั้น  ซึ่งในฐานะผู้บริหารหรือผู้นำที่ดี ยึดมั่นในคุณธรรม สอดคล้องกับการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล ตลอดระยะเวลาการทำงาน ท่านยังพิจารณาเห็นถึงโลกธรรม 8 ที่ว่าด้วยความ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และทุกข์ เมื่อถึงวันที่สิ่งเหล่านั้นจะต้องจากไปเป็นเรื่องธรรมชาติ เนื่องจากจำต้องเกิดขึ้นกับคนทุกคน เป็นของแน่นอนที่สุด จะปฏิเสธไม่ได้ว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข ที่ได้มานั้นต้องจากไปเป็นความจริง เป็นธรรมดา ธรรมชาติ ตามกฎไตรลักษณ์คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เรื่องอนิจจังหรือความไม่แน่นอนนั้น
ต้องพบเจอกันทุกคน เราไม่สามารถยื้อยุดไว้ตลอดกาลอย่างนั้น 
------
( ที่มา http://gotoknow.org/blog/udomran99/282264 )
1)    :จากบทความได้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงในสังคมไทย ใน
โครงสร้างองค์การ(Organization Structure)องค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการ หรือ เอกชน ยังคงคาดหวังเรื่องผลประโยชน์ และไม่สามารถแยกออกเรื่องพวกพ้อง ผู้คนยังคงต้องการระบบ อุปถัมภ์ อยู่เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากว่าไปแล้ว หากมีระบบอุปถัมภ์เข้ามามากเกินไปก็จะทำให้องค์กรนั้นๆไม่พัฒนา หรือพัฒนาไปอย่างช้า การทำงานเคลื่อนที่อย่างไม่มีประสิทธิเท่าที่ควร อยากขอยกแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber ) ที่พยากรณ์ว่า ความก้าวหน้าจำเป็นต้องดำเนินการบริหารอย่างมีรูปแบบมากขึ้น จึงได้ปรับแนวคิดให้เป็นรูปแบบขององค์การที่ชัดเจนเรียกว่า “ระบบราชการ (Bureaucracy)” (ศิริพงษ์ เศาภายน, 2552 : 28) โดยกำหนดโครงสร้างไว้ดังนี้

ü    มีลำดับขั้นตอนของอำนาจไว้ชัดเจน
ü    มีการแบ่งงานชัดเจน
ü    มีกฎเกณฑ์ที่เป็นไปโดยระบุสิทธิ หน้าที่ ของตำแหน่งงานไว้ด้วย
ü    มีการดำเนินการปฏิบัติงานอย่างมีระบบตามสภาพของงาน
ü    ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไม่มี
ü    การสรรหาบุคคลเพื่อจ้างงานและการเลื่อนระดับขึ้นอยู่กับความสามารถพื้นฐานทางด้านเทคนิค
หากจะแบ่งประเภทขององค์การตามพื้นฐานของสังคม หรือตามความรู้สึกในการมีส่วนร่วม ได้แก่ องค์การปฐมภูมิและ องค์การทุติยภูมิ แบ่งตามลักษณะโครงสร้าง หรือการจัดระเบียบในองค์การ ได้แก่ องค์การแบบเป็นทางการหรือรูปนัย และ องค์การแบบไม่เป็นทางการ หรืออรูปนัยดังต่อไปนี้
--------
ตาราง 1.1 แสดงประเภทขององค์การ 4 ลักษณะ
2)    : ทั้งนี้ยังเห็นได้ว่าการเป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จได้นั้นยังต้อง
ศึกษาและเข้าใจใน ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรม ที่มีอยู่ในองค์การ นั่นคือวัฒนธรรมองค์การ(Organization Culture) รวมไปถึงด้านความรู้สึกนึกคิด ความคาดหวัง ค่านิยม หรือแม้แต่บรรทัดฐานต่างๆที่สมาชิกในองค์การต่างก็ยอมรับ จึงจำเป็นต้องศึกษาเพื่อให้เข้าใจและสามารถเข้าถึงบุคคล ที่ต้องทำงานร่วมกันนั้นให้ได้ อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมองค์การในแต่ละองค์การนั้นยังมีหลายรูปแบบด้วยกัน ตัวอย่างเช่น
2.1 วัฒนธรรมองค์กรที่อยู่ในรูปของอุดมการณ์ (Ideology)  ยกตัวอย่าง กลุ่มบริษัทในเครือซิเมนต์ไทยคือ
ตั้งมั่นในความเป็นธรรม
มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ
เชื่อถือในคุณค่าของคน
ถือมั่นในความรับผิดชอบของคน

2.2    วัฒนธรรมองค์กรที่อยู่ในรูปของปรัชญา(Philosophy) ยกตัวอย่างบริษัทเครือ
เจริญโภคภัณฑ์หรือ CP Group คือ
มีปรัชญาในการดำเนินธุรกิจที่ว่า “ให้นึกถึงคนอื่นก่อน”
2.3 วัฒนธรรมองค์กรที่อยู่ในรูปของค่านิยม (Values) ยกตัวอย่างบริษัท ไทยอคริริคไฟเบอร์ จำกัด คือ          
       พนักงาน “เป็นหนึ่งเดียว ซื่อสัตย์ ยุติธรรมและมีความซื่อตรงอันเป็นกล
       ยุทธ์พื้นฐานที่เรายึดมั่นในการพัฒนาบุคลากรของเรา”
       ลูกค้า       “ลูกค้าคือจุดมุ่งเน้นที่เราทำทุกอย่าง”
      รัฐบาล     “เราพยายามที่จะเป็นบรรษัทภิบาลเสมอ”
      สิ่งแวดแล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย
                      “เราให้คำมั่นสัญญาว่าจะปกป้องสภาพแวดล้อมและจะพัฒนาที่ชุมชนที่   เราดำเนินการอยู่”
จากการศึกษาของ Daniel R. Denison (1990) ในปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การและประสิทธิผลขององค์การ พบว่าวัฒนธรรมองค์การจะส่งผลต่อประสิทธิผล (Effectiveness) ขององค์การเป็นอย่างมาก เมื่อวัฒนธรรมนั้นก่อให้เกิด
     การผูกพัน (Involvement) และการมีส่วนร่วมในองค์การ
     การปรับตัว (Adaptability) ที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของ
สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ
     การประพฤติปฏิบัติได้สม่ำเสมอ (Consistency) ซึ่งจะทำให้เกิดการ
ทำงานที่ประสานกันและสามารถคาดหมายพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้
     มีภารกิจ (และวิสัยทัศน์) ขององค์การที่เหมาะสม ทำให้องค์การมีกรอบ
และทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน
ปัจจัยทั้ง 4 ส่วนนี้ จะทำให้องค์การสามารถบรรลุสู่ประสิทธิผล (Effectiveness) ตามที่ต้องการได้ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การจึงมีความสำคัญที่จะสนับสนุนให้องค์การบรรลุสู่วิสัยทัศน์ และภารกิจ ที่กำหนดอย่างเหมาะสม

ดังตัวอย่างขององค์กรในบทความเรื่อง “โลกธรรม 8 กับผม” นั้นคือ ลักษณะที่ลูกน้องหรือผู้ที่เกี่ยวข้องต้องการที่จะเข้ามาขอความช่วยเหลือหรืออย่างไรก็แล้วแต่ พวกเขามักจะมีสิ่งของมามอบให้อยู่เสมอ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นของมีค่า บางชิ้นเกินกว่าจะรับไว้ไหว ดูเหมือนการให้สินบน จึงเกิดเป็นของตัวผู้บริหารเองว่าจะรับไว้ หรืออย่างไร สถานการณ์เช่นใดควรไม่ควร เป็นเรื่องของการตัดสินใจอีกที หากตัดสินว่าสิ่งนั้นๆเป็นเรื่องไม่ดีทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ดีต่อองค์กรในอนาคต ก็จะระงับไม่ให้เกิดขึ้นอีก
    ภาพประกอบ 2.1 มิติของวัฒนธรรมองค์การ (ศิริพงษ์ เศาภายน , 2552 : 72)
  ------
ผู้บริหารยังสามารถใช้วิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลซึ่งมีอยู่ในลักษณะในตัวของผู้นำยุคใหม่สำรวจองค์กรดูว่า ปัจจุบันผู้คนในองค์กรมักมีพฤติกรรมแนวปฏิบัติหรือวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดบ้าง แล้วจึงนำเอาพฤติกรรมเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับทิศทางที่องค์กรมุ่งที่จะไป เพื่อดูว่าพฤติกรรมใดที่จะทำหน้าที่ธำรงรักษา ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย และพฤติกรรมใดที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการก้าวไปข้างหน้าขององค์กร ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนา
หลังจากนั้น องค์กรจึงนำเอาพฤติกรรมที่ต้องการเห็นพนักงานทุกคนถือปฏิบัติเหล่านี้ มากำหนดเป็นค่านิยมหรือวัฒนธรรมขององค์กร การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ก็เหมือนกับการปลูกฝังวัฒนธรรมหรือขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ให้แก่ผู้คนในสังคม ผู้บริหารจำเป็นต้องสื่อสาร เน้นย้ำ ทำตัวเป็นตัวอย่าง ว่ากล่าวตักเตือนเมื่อไม่ปฏิบัติตาม และให้รางวัลเมื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง

3)    : โดยบทความชี้ให้เห็นถึงการบริหารงานของดร.พนม  พงษ์ไพบูลย์ว่า
เป็นผู้บริหารงานในระบบราชการนั้นนอกจากจะเก่งด้านบริหารงานแล้วยังต้องเก่งด้านบริหารคนหรือ ทรัพยากรมนุษย์ จ้างงานผู้ที่มีความสามารถ มาทำหน้าที่ๆพวกเขาถนัด มองคนๆนั้นให้ออกรู้ว่าต้องปฏิบัติหรือใช้คำพูดสั่งการอย่างไรต่อผู้ใต้บังคับบัญชาของตน เช่นเดียวกันกับการศึกษาทฤษฏีแนวคิดต่างๆด้านมนุษยสัมพันธ์และเชิงพฤติกรรมศาสตร์(The Theory of Human Relation & Behavioral Science Approach)
ดังคำที่กล่าวไว้ว่า  Put the Right Man On the Right Job ( At the Right Time ) เพื่อให้กลายเป็นพนักงานที่มีคุณภาพ เป็นผู้ที่มีวินัย ซื่อสัตย์ต่อองค์กร มีจรรยาบรรณ ผู้บริหารจะต้องเลือกให้ถูกคน ให้ถูกงาน ให้ถูกที่นั่นเอง หรือแม้แต่ทฤษฏี X และทฤษฏี Y ของ ดักลาส แมกเกรเกอร์ (Douglas McGregor)หนึ่งในแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ที่เข้ามาหลังระบบราชการ เพื่อให้ขวัญกำลังใจและความพึงพอใจ ให้แรงจูงใจคนงานเพื่อทำให้องค์การเป็นไปตามจุดมุ่งหมายยิ่งขึ้น  (ศิริพงษ์ เศาภายน , 2552 : 56)

ทฤษฎี x มอง คนในทางลบ    ทฤษฎี Y มอง คนในทางบวก
1. ไม่ ชอบทำงาน ชอบเลี่ยงเมื่อมีโอกาส
    ต้องเอาวินัยมาใช้ แบบสั่งการ มีการบังคับ ชี้แน่ะ ควบคุม อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ผลสำเร็จได้ แต่ต้องความเป็นธรรมโปร่งใส เมตตา ปราณีให้มีทั้ง พระเดช และพระคุณด้วย ให้ความต้องการที่สมควรและเป็นไปได้เพื่อที่จะให้บุคลากรมี ความก้าวหน้าในอาชีพการงานต่อไป    1. รัก และชอบทำงาน มีการจูงใจตัวเอง ความพอใจในการที่ทำ    ถ้าสถานศึกษาใดมีบุคลากรที่เป็น ประเภทนี้ ถือได้ว่าเป็นความโชคดีขององค์กร ต้องคอยให้กำลังใจ โดยการยกย่อง ชมเชย และส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองทั้งทางด้าน เทคนิค และความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ แต่ต้องระวังบางครั้งก็นอกกรอบ หลงตัวเองจนเกินไป ต้องดึงกลับมาบ้าง
2. มี ความทะเยอทะยานน้อย
        2. ความสามารถควบคุม ตัวเอง เพื่อให้ทำงานได้บรรลุเป้าหมาย กระตือรือร้น   
3. หลีกเลี่ยงความรักผิดชอบ แต่ต้องการความมั่นคงในชีวิต        3. มีความคิดสร้างสรรค์ต้องการความรับผิด ชอบพัฒนาตนเอง   
--------
ตาราง 3.1 ทฤษฏี X และ Y ของ ดักลาส แมกเกรเกอร์ และแนวในการบริหารจัดการ             
     ซึ่งเป็นไปไม่ได้ว่ามนุษย์ทุกคนบนโลกจะแบ่งออกได้เพียง 2รูปแบบนี้เท่านั้น ดังนั้น ศาสตราจารย์วิเลียม จี โออุชิ (William G. Ouchi) ได้คิดพัฒนารวมสองทฤษฏี X Y พัฒนาเป็น ทฤษฏี Z ทางการศึกษา ได้นำทฤษฎีดังกล่าวมาใช้กับ บุคลากรทางในสถานศึกษาเช่น พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง นักการภารโรง ลูกจ้างประจำ หรือลูกจ้างชั่วคราว เป็นต้นซึ่งทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการจ้างงานเป็นแบบระยะยาว มีข้อตกลงกับพนักงานทุกคนเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของเขาและครอบครัว ยังหมายถึงความเชื่อถือ ความถ่อมตน ความสนิทสนม
ประเด็นค่านิยม
เชิงวัฒนธรรมองค์การ    ทฤษฎี  J ทัศนะการบริหารงานแบบญี่ปุ่น    ทฤษฎี A ทัศนะการบริหารแบบอเมริกัน    ทฤษฎี Z  ผสมผสานทฤษฎี A +ทฤษฎี  J
Ÿ ความผูกพันต่อพนักงาน    จ้างตลอดชีวิตงาน    จ้างระยะสั้น
    การจ้างงานตลอดชีพรู้สึกผูกพันกับองค์กร
Ÿ การประเมินงาน    ช้าและเชิงคุณภาพ    เร็วและเชิงปริมาณ    การประเมินและเลื่อนตำแหน่งแบบช้าๆ
Ÿ เส้นทางอาชีพ    กว้างมาก    แคบเฉพาะด้าน    ชำนาญเฉพาะด้านไม่นิยมหมุนเปลี่ยน
Ÿ การควบคุม    ไม่ชัดเจนและไม่เป็นทางการ    ชัดเจนและเป็นทางการ    มีสมุดคู่มือชัดเจนแต่ควบคุมไม่เป็นทางการ
Ÿ การตัดสินใจ    โดยกลุ่ม ส่วนใหญ่    โดยบุคคล    โดยบุคคล
Ÿ ความรับผิดชอบ    โดยกลุ่มร่วมกัน    โดยบุคคล    โดยบุคคล
Ÿ การดูแลพนักงาน    คลุมกว้างทุกด้าน    ครอบคลุมบางด้าน    เสมือนเป็นครอบครัว
ตาราง 3.2 เปรียบเทียบระหว่างองค์การที่เชื่อในทฤษฏี J , A และ Z

    แนวคิดทฤษฎี Z ของ William G. Ouchi เป็นผลลัพธ์ ของสมการคือ Theory A + Theory J = Theory Z ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X และ Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอด คล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
    โดยแนวความคิดที่สำคัญของทฤษฏี Z คือ
    1. Trust คนในองค์กรต้องซื่อสัตย์ต่อกัน
    2. Subtlety คนในองค์กรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    3. Intimacy คนในองค์กรต้องมีความใกล้ชิดเป็น
4)    :จากบทความเห็นได้ว่าสอดคล้องเรื่องของ ภาวะผู้นำ
(Leadership)ลักษณะผู้นำของท่านคือผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงานและตำแหน่งสูงสุดที่ท่านได้รับและสัมพันธไมตรีที่ดีต่อคนอื่นๆที่รายล้อม จนเป็นที่รักใคร่ อีกหนึ่งความสำคัญคือด้านมนุษย์สัมพันธ์ซึ่งเป็นหนึ่งในลักษณะภาวะผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ดังทฤษฏีของ ฟิดเลอร์ และคณะ(Fred Fiedler and Associates) ได้นำเสนอว่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จสูงจะต้องใช้แบบแผนของความเป็นผู้นำที่ขึ้นอยู่กับระบบแรงจูงใจ และความสามารถที่ผู้นำจะควบคุมและมีอิทธิพลต่อสถานการณ์ (ศิริพงษ์ เศาภายน , 2552 : 133)
------
ภาพประกอบ 4.1 ตัวแปรสำคัญตามทฤษฏีของ Fiedler (ศิริพงษ์ เศาภายน , 2552 : 134)
องค์ประกอบของสถานการณ์ 3 ประการ ได้แก่
1.    ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับสมาชิก
2.    โครงสร้างของงาน
3.    อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ของผู้นำ
     ซึ่งเป็นหนึ่งในสองทฤษฏีภาวะผู้นำตามอุบัติการณ์ที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งอีกหนึ่งทฤษฏีคือ ทฤษฏีวิถีทางสู่เป้าหมายที่ว่าด้วยความคาดหวังภาวะจูงใจ และเน้นที่ผู้นำที่ส่งผลต่อเป้าหมายของพนักงาน แต่จะรวมไปถึงเรื่องของรางวัลด้วย  (ศิริพงษ์ เศาภายน , 2552 : 139)
5)    :การที่ให้ความสำคัญกับพนักงาน รักษาสัมพันธภาพที่ดีกับ
ผู้ใต้บังคับบัญชานั้นคือลักษณะที่เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามในหาทางสู่ความสำเร็จขององค์กรด้วยเช่นกัน  ผู้เขียนคือ ดร.พนม  พงษ์ไพบูลย์ เป็นหนึ่งตัวอย่างของผู้บริหารผู้นำตามหลักธรรมาภิบาล(Good Governance of Leadership Styles)ที่แม้ว่าท่านจะเกษียณอายุการทำงานและหมดภาระหน้าที่ไม่มีความสัมพันธ์ลักษณะผู้บังคับบัญชาแล้ว แต่พวกเขาเหล่านั้นยังคงรักและเคารพท่านอยู่เหมือนเดิม 
จากบทความตอนหนึ่งที่ว่า  “มาถึงวันนี้ก็อีกไม่กี่เดือนแล้วที่ผมจะได้รับใช้แผ่นดินในฐานะข้าราชการประจำ ผมลองสังเกตพฤติกรรมของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับผม ............ผมดีใจและชื่นชมที่เห็นคนส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมที่ มีต่อผม”  จะปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันการบริหารงานและปกครองคนไปพร้อมๆกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือยึดมั่นตาม “หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)” ของผู้บริหารซึ่งมี 8 หลักการที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกหน่วยงานได้แก่  
1 หลักความโปร่งใส
ปรับปรุงกลไกการทำงานทุกองค์กรให้โปร่งใส เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตรวจสอบได้
2 หลักนิติธรรม
การตรากฎหมาย และกฎข้อบังคับ ให้สังคมปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับเหล่านั้น
3 หลักความรับผิดชอบ
ตระหนักในสิทธิหน้าที่ แก้ปัญหา ตลอดจนกล้าที่จะยอมรับผลจาก การกระทำของตน
4 หลักความเสมอภาค
เท่าเทียมกันในสังคม สามารถเข้าถึงการ บริการได้เท่าเทียมกัน
5 หลักคุณธรรม
ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อเป็น ตัวอย่างแก่สังคม ซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ
6 หลักความคุ้มค่า
ใช้ทรัพยากรพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ ส่วนรวม ให้คนไทยมีความประหยัด
7 หลักการมีส่วนร่วม
เช่นใช้สิทธิฐานะ ตำแหน่ง หน้าที่ๆมีอยู่ของตนร่วมทำประชาพิจารณ์ , การเลือกตั้ง ฯลฯ
8 หลักความสอดคล้อง
สอดคล้องกับความต้องการของสังคม และวัฒนธรรมที่แตกต่าง เพื่อลดความขัดแย้ง
การสร้างกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวในด้านคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลในภาคราชการ เพื่อผลักดันให้เกิดองค์การสุจริตธรรมที่มีศักดิ์ศรี (Organizational Integrity) ในภาคราชการทุกระดับในวงกว้าง นอกเหนือจาก โลกธรรม 8 อีกหนึ่งเรื่องที่จะขอนำมากล่าวเพื่อเป็นอีกหนึ่ง ธรรมะในฐานะผู้นำผู้บังคับบัญชาในการปกครองที่ดี นั่นคือ “พรหมวิหาร 4” คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ตัวอย่างเช่น
                             “ ..ความหวังดีต่อลูกน้องผู้ใต้บังคับบัญชา คือ เมตตา
       ให้ความช่วยเหลือยามที่เขามีปัญหาช่วยแก้ปัญหาและให้กำลังใจ คือ กรุณา
            ยินดีเมื่อพวกเขามีความสุขประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน คือ มุทิตา
    ความเฉย วางเฉยต่อสิ่งยั่วยุที่ผิดต่อการปฏิบัติหน้าที่ คือ อุเบกขา ”

ผู้บริหารที่ดีจึงมักจะเป็นที่พึ่งที่ดีด้วย การเข้าถึงปัญหาของสมาชิกได้มากเท่าไหร่การบริหารโดยรวมก็จะยิ่งง่ายขึ้นเท่านั้น ด้านวินัยและพฤติกรรมจึงควรให้เหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อทุกคนปฏิบัติได้พร้อมเพรียงกัน ดังนั้นค่านิยมก็จะเกิดขึ้นและกลายเป็นวัฒนธรรมอันดีต่อองค์กรต่อไป หากกระทำไปหนึ่งครั้ง แล้วถ้าคนอื่นๆในทุกๆองค์กรทำเช่นเดียวกันแล้วประเทศชาติบ้านเมือง จะพัฒนาไปได้อย่างไรกัน
  : นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร
       บทความเรื่อง “โลกธรรม 8 กับผม” เนื้อเรื่องได้ให้ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานราชการ สถานศึกษา แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเรื่องของบทบาทผู้นำไว้หลายด้านด้วยกันเช่น
•    ลักษณะและภาวะผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ไม่เพียงแต่เก่งเรื่องของการบริหาร
จัดการเท่านั้น แต่หมายถึงการมีบุคลิกลักษณะและเข้าใจถึงเหตุของสัมพันธภาพระหว่างผู้ปฏิบัติงานในด้านต่างๆขององค์การ โดยเฉพาะการศึกษาด้านพฤติกรรมของมนุษย์หลายหลากประเภท ทำให้ง่ายต่อการบริหารงาน สั่งงาน

•    ทั้งยังให้ข้อควรคิดเรื่องของหลักคิดทางพระพุทธศาสนากับการทำงานเช่น โลก
ธรรม 8 และ หลักไตรลักษณ์นั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่ว่าอยู่ในสาขาอาชีพใดๆก็ล้วนแต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มีอยู่ในสังคมทุกแห่ง เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และทุกข์ ก็มีตามมาไม่อาจจะหลีกเลี่ยงไปได้เลย วันนี้ตนเองอาจจะมีเงินเดือนที่สูงลิ่วและรับผิดชอบงานน้อย อยู่อย่างสุขสบาย แต่วันหนึ่งต้องถูกโยกย้ายไปในสถานที่ทุรกันดาร อยู่อย่างทุกข์ลำบาก เช่นนี้ก็อาจเป็นได้ไม่มีใครล่วงรู้

จึงต้องพึงระลึกไว้ในข้อธรรมนี้ เตรียมพร้อมไว้เสมอ หรือเรื่องของทรัพย์สมบัติที่มีมายั่วยวนให้หลงอยากได้แต่ต้องแลกกับศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการพลเรือน ผู้ที่ได้ชื่อว่ารับเงินเดือนจากภาษีประชาชนในประเทศ สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยเนื่องจากมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม จำต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน เพียงแต่ต้องใช้สติในการที่จะสื่อสาร พูดคุย ให้ถูกเรื่องอย่างถูกต้องไม่ผิดกฎกติกาของสังคม มีวัฒนธรรมที่ดีเป็นกรอบให้ปฏิบัติและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งผลงานที่มีประสิทธิผล บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในที่สุด
•    การปกครองแบบฉบับพระพุทธศาสนา ตามหลักธรรมาภิบาล

•    ทั้งยังสามารถนำไปศึกษาต่อเพิ่มเติมเรื่องการปกครองสำหรับผู้บริหารใน
รูปแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในองค์กร และ ทฤษฏีการบริหารองค์การในระบบราชการ
•    รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ตามที่ได้ศึกษาทฤษฏี X Y A J Z กล่าวมา
สามารถนำไปใช้ได้กับทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการหรือเอกชน หากเป็นหน่วยราชการเช่นโรงเรียนได้แก่ข้าราชการ ,ครู ,อาจารย์ ,ผู้อำนวยการ และผู้บริหารระดับต่างๆในทุกองค์กร ทั้งหมดต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานซึ่งมาจากอย่างเคร่งครัด ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน  และดังที่กล่าวไปว่า ระบบราชการนั้นไม่ควรมีเรื่องของผลประโยชน์ พวกพ้องเข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้งหากเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานก็ควรเลือกผู้ที่เหมาะสมทั้งด้านความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง

•    แนวคิดและทฤษฏีต่างๆเพื่อที่จะได้นำมาดัดแปลง บริหารจัดการองค์กร
ปรับเปลี่ยนใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะวัฒนธรรมองค์กร ตัวอย่างเช่น หน่วยงานราชการเทศบาลตำบล นั่นคือองค์กรหนึ่งที่ใช้รูปแบบการบริหารระบบราชการ แม้ว่าคุณลักษณะของระบบการแบ่งงาน ลำดับขั้นของอำนาจจะค่อนข้างซับซ้อนและมีกฎเกณฑ์มาก ทำให้เกิดความเหินห่างทางสังคมระหว่างผู้บริหารกับผู้ร่วมงาน ซึ่งอาจทำให้ ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกจงรักภักดีต่อองค์กร รักในหน้าที่การงานน้อยลง ดังนั้นแนวคิดและทฤษฏีการบริหารองค์การในรูปแบบต่างๆ มาดัดแปลง ปรับใช้ในองค์กรได้ ทั้งในด้านวัฒนธรรมองค์กร พฤติกรรมมนุษย์ เอกัตบุคคล

รูปภาพแสดงให้เห็นถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย โดยตลอดมานานกว่า 30 ปี เป็นการชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกและสรรพสิ่งต่างๆ ในเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นทางสายกลางที่พอประมาณ ใช้หลักวิชาการที่มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อการพัฒนา องค์กร หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนประเทศให้มีความมั่นคงก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
จะเห็นได้ว่าข้อคิดที่ได้ดังที่กล่าวมาสามารถนำไปใช้ได้กับทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการหรือเอกชน หากเป็นหน่วยราชการเช่นโรงเรียนได้แก่ข้าราชการ ครู อาจารย์ ผู้อำนวยการ เป็นต้น ทั้งหมดต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานซึ่งมาจากอย่างเคร่งครัด  ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน  และดังที่กล่าวไปว่า ระบบราชการนั้นไม่ควรมีเรื่องของผลประโยชน์ พวกพ้องเข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้งหากเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานก็ควรเลือกผู้ที่เหมาะสมทั้งด้านความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง                 
คงน้อยคนนักที่จะได้ล่วงรู้อีกมุมมองในหน่วยราชการที่น่าสนใจ ถูกถ่ายทอดมาเป็นบทความ จากประสบการณ์รับราชการมากว่า 30ปี ของผู้เขียน ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านเป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จด้วยแล้วจึงทำให้รู้สึกโชคดีที่ได้อ่านสิ่งที่เป็นความรู้จากประสบการณ์ที่ท่านได้ถ่ายทอดออกมา( Tacit Knowledge) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวพฤติกรรมต่างๆ ที่มีอยู่จริงภายในองค์กร และหลักธรรมะ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้เลย ข้อคิดของการเป็นผู้นำที่ดีไม่ใช่แต่จะต้องเก่งเรื่องงาน แต่ต้องเข้าใจพนักงานด้วย และยิ่งไปกว่านั้นคือต้องยึดหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาหรือคุณธรรม ในหลักธรรมาภิบาลด้วย จึงจะเรียกได้ว่าพร้อมก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำแบบสมบูรณ์แบบ นำองค์กรให้ประสบความสำเร็จเช่นกัน พร้อมกันนั้นยังช่วยพัฒนาประเทศชาติให้พัฒนาไปอย่างยั่งยืน
บรรณานุกรม

ศิริพงษ์ เศาภายน.  (2552).  หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา: ทฤษฏีและแนว        
                ปฏิบัติ.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ :  บุ๊ค พอยท์.

วัฒนธรรมองค์การ.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  http://pirun.ku.ac.th/~g4968073
                /report/475521/Organization_Culture_by_2.doc.  (ค้นเมื่อ : 26 มีนาคม 2553).

ผู้บริหารมืออาชีพ.  (2552 , 2 สิงหาคม)  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://gotoknow.
    org/blog/udomran99/282264 (ค้นเมื่อ : 31 มีนาคม 2553).

สมหวัง  วิทยาปัญญานนท์.  (2550 , 20 สิงหาคม) ธรรมาภิบาลในองค์กร. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  http://www.budmgt.com/budman/bm01/good-org-governance.html (ค้นเมื่อ : 26 มีนาคม 2553).

อิศรพงษ์ แสงตะวัน.  (2552 , 14 มกราคม) เจ้าของทฤษฎีที่น่าสนใจ.  [ออนไลน์].  เข้าถึง  
  ได้จาก : http:// eduleadership2009.blogspot.com/2009/01/blog-post_3559.html (ค้นเมื่อ : 31 มีนาคม 2553).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น