วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

จากการวิเคราะห์บทความ “เส้นทางสู่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ”

จากการวิเคราะห์บทความ “เส้นทางสู่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ”
จากบทความ “เส้นทางสู่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ” ของดร.จำลอง นักฟ้อน สรุปเนื้อหาได้ว่า บทความได้กล่าวถึงคุณสมบัติที่เหมาะสม ของการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพในอนาคตเป็นต้น ซึ่งทั้งนี้ตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญยิ่งจึงต้องวางมาตรฐานและคุณสมบัติของผู้ที่จะก้าวขึ้นมาทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติด้านการศึกษา เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพได้ในอนาคตนั่นคือเด็กและวัยเรียนรู้ เริ่มต้นจากผู้บริหารเป็นผู้ควบคุมดูแลพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ อีกทั้งสภาพแวดล้อมทั้งหมดของเด็ก ผู้ที่มีคุณลักษณะที่มีอุดมการณ์และวิสัยทัศน์ที่ไกลกว่าผู้อื่น
บทความเรื่อง “เส้นทางสู่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ” ของดร.จำลอง นักฟ้อน ท่านกล่าวไว้อยู่ ๓ ประการสำคัญคือ
๑. คุณลักษณะส่วนตัว
๒. ทักษะและความรู้
๓.ความสามารถ ประสบการณ์
ประการแรก เป็นเรื่องของคุณลักษณะส่วนตัวของผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรตามที่ซึ่งเป็นผู้ที่มีลักษณะ ๑๐ ข้อซึ่งได้แก่ ๑) มีความรับผิดชอบสูง ๒) มีความขยันหมั่นเพียร ๓) มีความอดทน/อุสาหะ ๔) มีความซื่อสัตย์สุจริต ๕) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ๖) มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์/กระตือรือร้นในการทำงาน ๗) มีทักษะในการวินิจฉัยสั่งการ ๘) มีการรักษาระเบียบวินัยที่ดี ๙) มีความตรงต่อเวลา/การบริหารเวลา ๑๐) มีบุคลิกภาพที่ดี
จึงกล่าวได้ว่าลักษณะเฉพาะของผู้บริหารมืออาชีพนั้นคือลักษณะผู้ที่มีความพร้อมและเหมาะสมในการเป็นผู้นำผู้ที่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้พบเห็น เนื่องจาก ๑๐ ประการที่กล่าวมานั้นหากจะว่าไปแล้วเปรียบเสมือนคุณสมบัติเบื้องต้นที่ผู้ปฏิบัติงานที่ดีทั่วไปพึงมี เพื่อที่มีโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ได้ในอนาคต ผู้เขียนขอเสนอเพิ่มเติมอีกหนึ่งลักษณะที่ผู้นำและผู้ปฏิบัติงานที่ดีควรจะฝึกนั่นคือเรื่องของ “การมองโลกในแง่ดี คิดบวก” สำหรับผู้นำ ผู้บริหารรุ่นใหม่ แล้วนั่นคือสิ่งสำคัญในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆบนพื้นฐานของจิตสำนึกบริสุทธิ์ โดยผู้นำต้องมีวิญญาณของความเป็นเด็ก (The heart of child) นั่นคือการมองโลกในแง่ดี คิดด้านบวก อยากรู้อยากเห็น แสวงหาความรู้ใหม่ๆเติมเต็มอย่างกระตือรือร้น เรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการมุ่งแก้ปัญหามากกว่าหาตัวผู้กระทำผิด เพราะนั่นคือการบ่อนทำลายขวัญกำลังใจของพนักงาน
ประการที่สอง ด้านทักษะและความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของ ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพดังที่ท่านดร. จำลองได้กล่าวไว้นั้นจะต้องมี๘ประการอันได้แก่ ๑) ความรู้ความสามารถในเชิงวางแผน ๒) ความรู้ความสามารถในเชิงผู้นำ ๓) ความรู้ความสามารถในการเป็นนักจัดการ ๔) ความรู้ความสามารถในการเป็นนักวิจัยพัฒนา ๕) การเป็นนักประสานงานและประสานประโยชน์ ๖) มีความรู้ความสามารถในเชิงการสื่อสาร ๗) ความรู้ความสามารถในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ๘)เป็นผู้มีพลังหรือศักยภาพที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง
หากว่าทั้งหมด๘ประการที่กล่าวมารวมอยู่ในตัวผู้บริหาร กล่าวว่าได้ขยับมาอีกขั้นของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในอนาคต ซึ่งการเป็นผู้บริหารที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ควรเป็นผู้ที่รอบรู้ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้กลยุทธ์ในการวางแผนจัดการบริหารทั่วไปรวมถึงทรัพยากรมนุษย์นั้นซึ่งเป็นเสมือนฟันเฟืองของเครื่องจักรอันจะก้าวไปอย่างมีประสิทธิภาพได้ โดยการเป็นนักประสานงานประสานผลประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายอย่างสมดุล การใช้สื่อสารที่มีศิลปะ สามารถจูงใจให้พวกเขาปฏิบัติงานให้กับองค์กรได้อย่างเต็มกำลังและเต็มใจ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเบื้องต้นด้วยตนเองซึ่งเป็นอีกสิ่งสำคัญของผู้นำยุคใหม่ ทั้งพร้อมที่จะนำศักยภาพทั้งหมดนั้นออกมาใช้ให้เป็น อย่างเหมาะสมแก่เวลาสถานการณ์
ประการสุดท้ายได้แก่ความสามารถ ประสบการณ์หากผู้บริหารสถานศึกษา มีความสามารถในการเก่งคิด เก่งคน และเก่งงานและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของตนอง และมีวิสัยทัศน์นั้นๆร่วมที่สมาชิก การใช้สิ่งเหล่านั้นมาช่วยกันผลักดันสานฝัน ผนวกเข้ากับประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ตรงจากระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ และส่วนประสบการณ์ทางอ้อมอาจจะได้แก่ ผลงานทางวิชาการ/เอกสาร/การวิจัย หรือการจบการศึกษาจากด้านการบริหารการศึกษาโดยตรงซึ่งเป็นอีกสาขาวิชาที่จัดให้มีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อได้เพื่อประโยชน์ในการบริหารพัฒนาการศึกษา กลั่นกรองความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ผลิตนักบริหารการศึกษาที่พร้อมที่จะทำงานด้านพัฒนาการศึกษาโดยเฉพาะ อีกทั้งความสามารถในการเป็นนักวิจัยพัฒนา เพื่อเสาะแสวงหาความรู้ นวัตกรรมและรูปแบบใหม่ ๆในส่วนที่สองว่าด้วยเรื่องทักษะของการเป็นผู้บริหาร ดังนั้นไม่ว่าเป็นผู้บริหารมือใหม่ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารเต็มตัวหากมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงการที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศชาติในฐานะผู้นำที่มีภาวะผู้นำผู้บริหารที่ไฟแรงแบบมืออาชีพนั้นก็สามารถทำได้อย่างไม่ยากเลย
อย่างก็ตามผู้เขียนขอเพิ่มเติมเพื่อการบริหารงานการศึกษาขององค์กรอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล นอกจากผู้บริหารต้อง มีทักษะและความรู้ความสามารถ ดังกล่าวมาแล้วนั้นจึงอยากเน้นย้ำด้านต่างๆที่สำคัญต่อการบริหาร ปกครองของผู้บริหาร ผู้นำที่ดีดังต่อไปนี้
๑.วิสัยทัศน์กว้างไกล
คุณสมบัติของผู้นำที่ถูกพูดถึงมากที่สุดและ คือส่วนสำคัญในด้านทักษะความสามารถที่ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จรู้จักดีและมีอยู่แล้วทุกท่าน แต่นักบริหารที่กำลังต้องการก้าวสู่ตำแหน่งที่เรียกว่าผู้นำ ผู้บริหาร โดยเฉพาะงานบริหารการศึกษาที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศแล้วนั้น ผู้บริหารยุคใหม่จึงต้องศึกษาแล้วนำมาใช้ในการบริหารจัดการนั่นคือ “วิสัยทัศน์ที่กว้างไกล”
วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหาร สถานศึกษาทุกคนจะต้องมีเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง มาสู่สถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตรเช่นในปัจจุบัน Braun (1991: 26) มิติของวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาเป็น 3 มิติ คือ
การสร้างวิสัยทัศน์ (Formulated Vision) คือ สร้างภาพในอนาคตของสถานศึกษาได้อย่างชัดเจนว่า ประสิทธิผลที่ดีที่สุดของสถานศึกษาที่ต้องการอย่างแท้จริงคืออะไร ทั้งนี้โดยอาศัยทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการสังเคราะห์ข้อมูลของผู้บริหารสถานศึกษา
การเผยแพร่วิสัยทัศน์ (Articulated Vision) คือ การที่สามารถสื่อสารให้สมาชิกมีความเข้าใจในวิสัยทัศน์ของตนได้อย่างชัดเจน ยอมรับ และเต็มใจที่จะปฏิบัติงานทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น
การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ (Operational Vision) คือ การที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติจริงได้เป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้โดยวิธีการหลอมวิสัยทัศน์ของตนลงไปสู่นโยบาย เป้าหมาย แผนงาน โครงการ กิจวัตรประจำวันของสถานศึกษา และโดยการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคณะครู
ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่แท้จริงนั้นจะต้องมีกระบวนการลีลาของวิสัยทัศน์ ครบทั้ง 3 มิติคือ คิดได้ (การสร้างวิสัยทัศน์) สื่อเป็น (การเผยแพร่วิสัยทัศน์) และโน้มนำให้มีการปฏิบัติล่วงหน้า (การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์) พร้อมทั้งมีการประเมินผลเพื่อการปรับปรุง แก้ไขให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบด้วย และการมีเป้าหมายที่ชัดเจน ทำวิสัยทัศน์เป็น Roadmap ให้ทุกคนในสถานศึกษา ได้ใช้เป็นประทีปนำทางในการปฏิบัติงาน ก็จะสามารถนำพาองค์กรให้ก้าวหน้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

๒.“ศาสตร์” และ “ศิลป์”
สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปทุกๆปี ดังจะกล่าวถึง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ที่ผู้บริหารจะต้องมีเพื่อการปฏิบัติงานบริหารการศึกษาได้อย่างยอดเยี่ยม ตามเป้าหมายและอุดมการณ์ที่ตั้งไว้ ก็จึงควรเปลี่ยนแปลงไปให้ทันยุคทันสมัยด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่าการบริหารการศึกษาเรียกได้ว่าเป็นศาสตร์ ที่มีการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการทางสาขาการบริหารการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศมายาวนานพอสมควร เพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของหลักการ แนวคิดทฤษฎี และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองเพื่อได้มาซึ่งการพัฒนาการศึกษาของประเทศและผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
ในปัจจุบันนี้ สาขาวิชาการบริหารการศึกษาจึงเป็นอีกหนึ่งจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์ การนำเอาศาสตร์ที่มีมาประยุกต์ใช้ให้เป็นหรือการบริหารอย่างมีศิลปะซึ่งแต่ละคนก็จะมีวิธีการแบบฉบับของตนเองต่างกันออกไป เช่น
• ผู้บริหารต้องมีความรับผิดชอบ รับผิดชอบในคำพูด ให้คำสัญญาเท่าที่ทำ
ได้เท่านั้น เมื่อทำไม่ได้หรือเกิดความผิดพลาดก็สามารถอธิบายชี้แจงสาเหตุให้ทุกฝ่ายเข้าใจและหมดข้อสงสัย
• ผู้บริหารผู้มีสติปัญญา และการตัดสินใจที่ถูกต้อง รวดเร็ว เด็ดขาด
รอบคอบในการสั่งงาน มีวาทศิลป์ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นให้มากที่สุด
• ผู้บริหารควรมีศรัทธา บารมี ต่อทุกคนและผู้ร่วมงาน ทำอย่างไรให้
คนเชื่อถือไว้วางใจ และเกิดการกระทำในสิ่งที่ผู้นำ จูงใจให้กระทำ หรือมักเรียกกันว่า บารมี การที่จะสร้างศรัทธา บารมีให้เกิดต้องใช้ความมานะอดทนแสดงความจริงใจต่อผู้อื่นก่อนเสมอ
• ผู้บริหาร ต้องเรียนรู้อย่างไม่หยุดยั้ง เนื่องจากยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งการ
เรียนรู้ สิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน เช่นองค์ความรู้ใหม่ๆ เห็นสิ่งใหม่ๆแล้วกลับนำมาใช้ในองค์กร ในหน่วยงาน ใช้สอนหรือแนะนำตามที่ได้ศึกษามาให้เกิดประโยชน์
• ผู้บริหารมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสต่อทุกคน สร้างบรรยากาศ
การทำงานที่สดชื่น คือแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้สนุกในการทำงานแล้วจะประสบความสำเร็จสิ่งนี้จะเป็นน้ำล่อเลี้ยงให้การบริหารอย่างมีศิลปะเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ
• ผู้บริหารต้องตามให้ทัน ทันคน ทันงาน ทันสถานการณ์ และควรหา
วิธีที่แปลกใหม่ ทดลองใช้อยู่เสมอเนื่องจากยุคสมัยนี้สิ่งต่างๆสถานการณ์รอบข้างเปลี่ยนแปลงแบบรายวันไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ควรต้องตามให้ทัน
๓.คุณธรรม จริยธรรม ภายใต้หลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาลที่ สมศ. หรือสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาได้กำหนดไว้ ๖ประเด็นที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรปฏิบัติตามและให้ความสำคัญอันได้แก่
๑ ประเด็นความสุจริต
๒ ประเด็นความยุติธรรม
๓ ประเด็นการใช้ระบบคุณธรรม
๔ ประเด็นการรับ ฟังปัญหา
๕ ประเด็นการมีส่วนร่วมใน การบริหาร
๖ ประเด็นจรรยาบรรณวิชาชีพ
และตามที่ทัศนะนักทฤษฎีจิตวิทยาสังคมและนักการศึกษาทั่วไปมัก กล่าวถึง สรุปได้ ๖ ประเด็น คือ
๑ หลักนิติธรรม ๒ หลักคุณธรรม ๓ หลักความโปร่งใส ๔ หลักการมีส่วนร่วม ๕ หลักความรับผิดชอบ ๖ หลักความคุ้มค่า
ดังที่กล่าวมาข้างต้นหากสังเกตจะเห็นได้ว่าทั้งที่สมศ. กำหนด(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา) และทัศนะนักทฤษฎีจิตวิทยาสังคมและนักการศึกษาทั่วไปได้กล่าวถึงนั้นคือการที่ผู้บริหารที่ดีควรปฏิบัติตาม โดยรวมให้มีลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ บริหารงานอย่างโปร่งใส่ ตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ภายใต้หลักธรรมาภิบาล ดังนั้นผู้บริหารยุคใหม่ที่ดีควรนำศิลปะการบริหารงานร่วมด้วย เชื่อได้ว่าจะต้องประสบความสำเร็จ ทั้งตัวผู้บริหารเองและองค์กรอย่างแน่นอน
หลักธรรมาภิบาลนั้นสามารถนำไปใช้ในองค์กรต่างไม่ว่าจะภาครัฐหือเอกชน ไม่ว่จะเป็นองค์กรขนาดเล็กใหญ่ หากพูดถึงเรื่องของความซื่อ สัตย์ สุจริตความวางใจซึ่งกันและกัน ของสมาชิกในองค์กร อาจมีการวางแผนร่วมกัน การมีส่วนร่วมในการประเมินการดำเนินงาน มีนโยบายและรับผิดชอบร่วมกัน โดยเฉพาะจรรยาบรรณของผู้ที่เรียกได้ว่าเป็นข้าราชการด้วย หลักธรรมาภิบาจึงเป็นที่นิยมนำไปใช้ในหน่วยงานต่างๆและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากได้รวบรวมเรื่องของการมีคุณธรรม จริยธรรม เช่น หากเป็นผู้บริหาร ผู้นำจะต้องเป็นที่รักและเคารพของผู้ใต้บังคับบัญชาคือหนึ่งในทักษะการปฏิสัมพันธ์โดยใช้คุณธรรม และเมตตา ส่งผลให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักเคารพ เพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน อีกทั้งเสริมบารมีแก่ตนเอง เกิดประโยชน์ด้านการบริหารงานสั่งงานด้วย

๕.ผู้นำ ผู้บริหารในยุคไอที
เนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนแปลง สภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ขึ้นๆลงๆ(โดยเฉพาะช่วงนี้ไม่ค่อยขึ้นมีแต่ลง) แล้วความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็ยังทำให้ผู้บริหารยุคนี้ต้องเอาใจใส่และตามให้ทัน ใช้ให้เป็น ปัจจุบันผู้บริหารระดับสูงเริ่มพูดกันถึงเรื่องอินเทอร์เน็ต
ผู้บริหารจึงควรใส่ใจดูแลให้มีการวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้ใช้ทั่วหน่วยงานได้อย่างทั่วถึงด้วย ให้ความสะดวกในการหาข้อมูลในการปฏิบัติงานของพนักงาน และยังเป็นแหล่งการเรียนรู้ ศึกษาด้วยตนเองอย่างดีเช่นการหาข้อมูลใน Google.comเป็นที่นิยมใช้กันอย่างมากในการหาสิ่งที่อยากรู้ ได้รู้รอบโลก ครอบจักรวาลเลยทีเดียว ประโยชน์ที่จะได้จากระบบอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้บริหารยุคใหม่อันได้แก่
• ความรวดเร็วในการเข้าถึงและแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยัง
อีกที่หนึ่งตลอดจนการกระจายโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลขอคนหมู่มาก ส่งผลให้ผู้บริการองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคธุรกิจต้องสามารถทำการตัดสินใจ ทางเลือกของการแก้ปัญหาและโอกาสอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
• เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ให้การดำเนินงานและปัญหาการ
สื่อสาร ประสานงานที่ซับซ้อนให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมซึ่งจะช่วยลดความไม่แน่นอนและความผิดพลาดใน การตัดสินใจลง
• ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับเทคโนโลยีสารสนเทศยังมิได้
เป็น ความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติที่มีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการส่งเสริมการนำระบบสารสนเทศมาช่วยงาน
• ผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทยยังมิได้พัฒนาทักษะทางสารสนเทศสู่
ระดับที่ต้องการ ดังนั้นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นในช่วงเวลาของการตื่นตัวด้าน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศควรมีความเข้าใจและทักษะมากขึ้น
• ในทางปฏิบัติผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศ แต่
ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงประโยชน์ของการนำสารสนเทศมาส่งเสริมศักยภาพในการ ดำเนินงานขององค์การ หากได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็จะส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การได้

๖.แรงจูงใจในองค์กร
ไม่เพียงแต่เรื่องของการบริหารงาน บริหารเวลาเท่านั้นที่ต้องใช้ศิลปะ การบริหารคนก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เนื่องจากการการทำงานทุกขั้นตอน ต้องใช้กำลังคน ดังนั้นการที่จะนำคน นำเอาความสามารถของคนเหล่านั้นออกมาใช้ให้
ได้แบบเต็มที่และเต็มใจ เรียกว่าได้ว่าการดึงเอาสมรรถภาพออกมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ
เช่นในตัวอย่างทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมากสามารถอธิบาย โดยใช้แนวโน้มของบุคคล ในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขาได้รับความต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง ซึ่งกระบวนการของแรงจูงใจเป็นหัวใจของทฤษฎีบุคลิกภาพของ Maslow โดยเขาเชื่อว่ามนุษย์เป็น “สัตว์ที่มีความต้องการ” (wanting animal) Maslow กล่าวว่าความปรารถนาของมนุษย์นั้นติดตัวมาแต่กำเนิดและความปรารถนาเหล่านี้จะเรียงลำดับขั้นของความปรารถนา ตั้งแต่ขั้นแรก ไปสู่ความปรารถนาขั้นสูง ขึ้นไปเป็นลำดับ
นอกจากทฤษฏีต่างๆของนักคิดที่หยิบยกมาไว้ในตำราวิชา EA๗๑๓ หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักสูตรของปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ผู้เขียนอยากขอยกข้อธรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับผู้นำที่ดี ผู้ที่มีภาวะผู้นำเมื่อได้นำไปปฏิบัติก็จะเกิดความมั่นคงและก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นที่รักและเคารพของผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพในยุคใหม่ในที่สุด นั่นคือ สังคหวัตถุ๔ (Base of sympathy) ธรรมเพื่อให้คน เป็นที่รักของคน ซึ่งได้แก่
• ทาน (Giving Offering) คือการให้ เสียสละ แบ่งปันแก่ผู้อื่น เช่น การให้
รางวัล สวัสดิการที่ดี ไม่เป็นคนประหยัดเกินไป ดังคำกล่าวที่ว่า Better a Giver Than a Giver Be (http://www.burg.com/)
• ปิยวาจา (Kindly speech) คือ พูดจาด้วยถ้อยคำสุภาพ นุ่มนวล เหมาะ
แก่บุคคล เวลา สถานที่ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ พูดในทางสร้างสรรค์ และเกิดกำลังใจ เช่น การควบคุม การจูงใจ อีกทั้งหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ในทุกสถานการณ์
• อัตถจริยา (Useful conduct) ทำตนให้เป็นประโยชน์ ตามกำลังสติปัญญา
ความรู้ความสามารถ กำลังทรัพย์ และเวลา เช่น การพัฒนาคน การบริหารงานตามวัตถุประสงค์ อบรมสัมมนา จัดให้พนักงานอบรมสัมมนากิจกรรมสันทนาการ ละลายพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก ความผูกพัน ในองค์กรด้วย
• สมานัตตตา (Even and equal treatment) คือทำตนให้เสมอต้นเสมอปลาย
วางตนเหมาะสมกับ ฐานะ ตำแหน่งหน้าที่การงาน แต่ก็ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ร่วมทุกข์ร่วมสุข เป็นกันเองไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การมอบอำนาจ ในเวลางานหรือนอกเวลางานเป็นต้น

ข้อคิดเห็นผู้เขียนเพื่อการประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ปัจจุบัน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นสิ่งที่ผู้นำ ผู้บริหารและผู้ที่เรียกว่ามีภาวะผู้นำในองค์กรต่างๆโดยเฉพาะผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ พัฒนาประเทศด้านการศึกษา และก้าวสู่ตำแหน่งผู้นำในอนาคตจึงควรศึกษา คุณสมบัติและสิ่งที่ควรปฏิบัติ เพื่อพัฒนาตนเองให้ขึ้นไปเป็นผู้นำที่ดีมีคุณภาพ จนขึ้นไปเป็นผู้นำในดวงใจของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ที่กำลังมองหาแบบอย่างที่ดีที่นับยิ่งหายากมากขึ้นไปทุกที เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและการเมืองที่ค่อนข้างย่ำแย่เช่นเหตุการณ์ในปัจจุบันนี้ ก็เพราะมาจากการขาดการศึกษาโดยเฉพาะเรื่องคุณธรรม จริยธรรม อันเป็นส่วนที่สำคัญเป็นรากฐานของสังคมอย่างแท้จริง
จะเห็นได้ว่าประเทศไทยในขณะนี้น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านคุณธรรม จริยธรรม เรียกได้ว่าทุกด้านเลยก็ว่าได้ หากจะบอกว่าไม่เกี่ยวอะไรกับการบริหารของผู้บริหารการศึกษานั้นก็คงจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเป็นอย่างแน่ เนื่องจากการบริหารงาน ต้องใช้คนบริหารร่วมกันเป็นทีม ผู้เขียนขอยกตัวอย่างปัญหาหลักๆ๒เรื่อง ที่มักเกิดขึ้นในองค์กรพร้อมเสนอแนะวิธีที่ผู้นำควรพิจารณาและนำไปใช้แก้ไขป้องกันต่อไป

• ปัญหาการเมือง ปัจจุบันจะเป็นได้ว่าการเมืองเป็นเรื่องของธุรกิจไปเสีย
แล้ว ดังเช่นเหตุการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงอย่างทุกวันนี้ก็เพราะปัญหาความเห็นไม่ตรงกัน และแบ่งประชาชนร่วมด้วยมากว่า๒ฝ่ายเช่นนี้ ก็หมายถึงธรรมชาติมนุษย์เป็นเรื่องปรกติ ที่จะความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป แต่ขอเพียงอย่าให้ลุกลามเข้ามาในองค์กรจนกระทั่งกลายเป็นปัญหาขององค์กรไปอีก ยิ่งเพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นท่านผู้ที่มีภาวะผู้นำควรต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑) ใช้ศิลปะการสื่อสาร ประสานงานอย่างระวัง หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นเรื่องการเมืองต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ว่ากรณีใดๆ
๒) ติดตามข่าวสาร สถานการณ์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางอินเตอร์เน็ต เพราะข่าวสารในปัจจุบัน หรือการรับฟังข่าวสารด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว อาจเป็นเท็จ และไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้อง
๓) โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อทุกคน ทุกฝ่ายก็ควรปฏิบัติให้เหมือนกัน ไม่ควรนำเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวหรือแบ่งพรรคแบ่งพวกในองค์กร
๔) ผู้นำต้องคอยชักนำให้ทำงานร่วมกิจกรรมมากกว่า สนทนาเรื่องการเมืองในที่ทำงาน การทำกิจกรรม สันทนาการเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เกิดความรัก สมัครสมานสามัคคีกันในองค์กรได้เป็นอย่างดี
๕) รักและเชิดชู สถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นสิ่งเดียวที่ผู้นำควรนำไปใช้ปฏิบัติเพื่อเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวผู้ร่วมงานที่ขัดแย้งเข้าด้วยกัน และเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้นำควรต้องมีคือ คุณธรรม จริยธรรม และตามที่จรรยาบรรณของผู้นำทุกท่านพึงมี

• วัฒนธรรมองค์กร จึงเป็นสิ่งที่หนึ่งที่หนักสำหรับผู้บริหาร ไม่ว่าจะเป็น
งานด้านการศึกษา หรือสถานศึกษา วัฒนธรรมองค์ที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ต่างๆเช่น บางท่านที่ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่แห่งใหม่พบกับผู้ใต้บังคับบัญชา คณะทำงาน และสภาพแวดล้อมใหม่ทั้งหมด จึงมีผลต่อการปฏิบัติงาน บริหารงาน ซึ่งพบว่าทุกองค์กรนั้นมีวัฒนธรรมองค์กรที่ต่างกัน และจะทำอย่างไรจึงจะนำพาองค์กรนั้นๆสู่ความสำเร็จให้เร็วที่สุด ประสบความสำเร็จและประทับใจทุกฝ่าย
๑) ศึกษาวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะวางแผนงานใดๆซึ่งในการศึกษาส่วนของลักษณะวัฒนธรรมองค์กรนี้มักใช้เวลา เนื่องจากการมองคนมองภาพรวมออกนั้นต้องใช้ประสบการณ์
๒)โดยพื้นฐานการปฏิสัมพันธ์การร่วมงานนั้นต้องเต็มไปด้วยความเมตตา กรุณา ยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรมเสมอ ก่อให้เกิดพลังศรัทธาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาตั้งแต่เริ่มแรกเลยทีเดียว
๓) สาเหตุต่างๆที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์การ จนเกิดการแปลกแยกของสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นเพราะองค์การเกิดความเจริญเติบโตขึ้น หรือเสื่อมถอยลง การเปลี่ยนผู้อำนวยการโรงเรียน เปลี่ยนทีมผู้บริหารใหม่ เปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างการทำงาน เช่นนี้เป็นต้น

• ความแปลกแยกของคนในองค์กร เมื่อมีจำนวนผู้ร่วมงาน หรือนำคนที่
แตกต่างกันมาอยู่รวมจำนวนมากขึ้นก็ยิ่งทำให้องค์กรนั้นๆยากต่อการควบคุมเมื่อสมาชิก หรือผู้ปฏิบัติงานในองค์กร เกิดความแปลกแยกจึงอาจแก้ปัญหาความแปลกแยกของสมาชิกได้ดังเช่น
๑) ยอมรับว่าหนุ่มสาวรุ่นใหม่มีความคิดที่ใหม่กว่าแต่ก็เต็มไปด้วยความร้อนแรง มักเรียกว่า คนหนุ่มไฟแรง ผู้นำที่ดีจึงควรยอมรับและเปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถทั่วถึงทั้งองค์กร หรือเป็นการ เปิดโอกาสเขา ลดบทบาทเรา วิธีเช่นนี้นอกจากจะลดความแปลกแยกแล้วยังเพิ่มหรือจุดประกายความคิดเห็นใหม่ๆให้กับองค์กรด้วย
๒) การจัดให้มีกิจกรรมสันทนาการ กันในองค์กรขึ้นให้บ่อยเท่าที่ควรทำได้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ หรือเป็นการละลายพฤติกรรม เนื่องจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกผู้ร่วมงานกันนั้น ยังผลทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ไม่เข้าใจก็ปรับเข้าหากัน ที่เข้าใจกันก็จะรักกันยิ่งขึ้น ทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปได้ด้วยดีขึ้นตามลำดับ
๓) ไม่โน้มเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อันเป็นการก่อให้เกิดความแตกแยกมากขึ้นในองค์กร โดยเลือกที่จะพูดคุยหาเหตุผลด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้วปรับเปลี่ยนเข้าหากัน สอนหรืออบรมให้เข้าใจลักษณะของ TEAMWORK ให้ระบบการทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพมากที่สุด
๔) การทำตัวให้สมกับเป็นหัวหน้านั้นทำให้ลูกน้องรู้สึกอบอุ่นพึ่งได้อยู่เสมอ ไม่ทำตัวเหมือนคนแบกภาระหนัก รับฟังคำเสนอแนะแล้วจดจำเป็นสิ่งที่ผู้นำที่ดีควรทำ แล้วมอบบทบาทหน้าที่ ไว้วางใจมอบภารกิจว่าคุณต้องทำได้ ให้กำลังใจในสิ่งที่พวกเขากำลังกลัว การทำเช่นนอกจากจะได้ใจลูกน้องทุกฝ่ายแล้ว ผู้นำยังสามารถใช้ความเป็นพี่หรือพ่อ ผู้ปกครองลูกน้องให้ได้กระชับความสัมพันธ์อันก่อให้เกิดการปฏิบัติงานขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลได้อย่างแน่นอน
๕) ทัศนคติที่เป็นตัวกำหนดอนาคต หากผู้นำใช้ทัศนคติที่ดีต่อผู้ร่วมงานทุกฝ่าย อย่างที่เรียกว่า สุนทรียทัศนคติ รู้จักคุณค่าที่มีอยู่ในทุกสิ่งรอบตัวมองโลกในแง่บวกโดยเฉพาะการทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็จงแสดงออกว่ามีความสุขและแจ่มใสเสมอ ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีขวัญและกำลังใจยิ่งขึ้น ภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยยึดมั่นในศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณผู้นำที่ดี

-----------------------------------------------------------------------------------------------
บรรณานุกรม

จำลอง นักฟ้อน. (ม.ป.ป.). เส้นทางสู่ นักบริหารการศึกษามืออาชีพ. [ออนไลน์].
เข้าถึง ได้จาก : http://www.moe.go.th/wijai/road%20map.htm. (ค้นเมื่อ : ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓)
ชัชวาลย์. (ม.ป.ป.). ๓ คุณสมบัติของผู้นำยุคใหม่. [ออนไลน์]. เข้าถึง ได้จาก :
http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2549. (ค้นเมื่อ : ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓)
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (ม.ป.ป.). แนว คิดและความหมายของการบริหารและการบริหาร
จัดการ. [ออนไลน์]. เข้าถึง ได้จาก :http://www.wiruch.com/articles. (ค้นเมื่อ : ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓)
ศิริพงษ์ เศาภายน, (2548). หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎี และแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้ง
ที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2551). ภาวะผู้นำและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารการศึกษา. พิมพ์
ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาไทยในปัจจุบัน( EK ๗๐๓)

การศึกษาไทยในปัจจุบัน
หน้าที่หลักในการจัดการศึกษาของประเทศไทยของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งนโยบายด้านการศึกษาจากพรรคการเมืองในประเทศไทย ทำให้สรุปได้ว่า ภาพอนาคตการศึกษาไทย การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย เป็นการเพิ่มต้นทุนทางสังคมให้แก่ประเทศ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการจัดการศึกษา โดยเน้นให้เด็กเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีคุณธรรม อาศัยการสอนที่หลากหลายให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนเกิดการบูรณาการวิชา ต่างๆเข้าด้วยกันเป็นสหวิทยาการ
เพื่อให้การศึกษาสอดคล้องกับวิถีชีวิต ความต้องการของผู้เรียน และชุมชนท้องถิ่นมากที่สุด และเพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ จึงต้องมีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปยังท้องถิ่นอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต นอกจากนั้นในอนาคตจะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับ การดำเนินชีวิต และเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีบทบาทอย่างยิ่งในระบบการศึกษาในอนาคต ซึ่ง เสน่ห์ แตงทอง (2542, หน้า 27)
อย่างไรก็ตาม ปรัชญาหลักๆ ของแผนการ ศึกษาแห่งชาติมักจะเน้นและยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือกรอบของการบูรณาการร่วมกันในเรื่องของการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม และเรื่องอื่นๆเช่น
*   การพัฒนาคน จะเน้นการพัฒนาให้เป็นคนเก่ง ดี มีความสุข มีความภูมิใจในความเป็นไทย รวมทั้งมีความศรัทธาเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยฯ รังเกียจการทุจริต ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
*  การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา จะมุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาครู เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา
*  การพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม ให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งคุณธรรมจริยธรรม และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
*  การพัฒนากำลังคน ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ภาคอุตสาหกรรมบริการ ภาคเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ โดยมีการกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
*  การมีส่วนร่วม ทั้งในส่วนของภาครัฐ เอกชน หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันศาสนา สถาบันครอบครัว เป็นต้น
*  การเตรียมประเทศไทยให้เดินหน้าไปสู่ความพร้อมในการสร้างประชาคมอาเซียน โดยอย่างน้อยที่สุดที่จะต้องทำในเวลานี้คือ ควรจะต้องมีการเร่งรัดกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษาในระดับต่างๆ ซึ่งในขณะนี้ระดับอุดมศึกษาได้จัดทำและประกาศใช้แล้วคือ TQF (Thai Qualifications Framework หรือ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ) และต้องไปเน้นระดับอาชีวศึกษาต่อไปด้วย ขณะเดียวกันต้องมีการผลักดันให้กลุ่มประเทศอาเซียนมี TQF กลางเกิดขึ้นด้วย (ประชุมสภาการศึกษา ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๒,จาก http://www.moe.go.th/websm/2009/aug/292.html)
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพได้นั้น ไม่สามารถจะจำกัดอยู่แค่การ ให้การศึกษาได้เท่านั้น รายงานการพัฒนาโลกได้ระบุว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่ภาครัฐจะต้องคำนึงถึง 3 ประการคำถามคือ 1) โอกาส 2) สมรรถนะ และ 3) โอกาส
เป้าหมายสำคัญของการบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิตจึงเป็น หัวใจสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยกรอบนโยบายของรัฐจะช่วยสนับสนุนในการพัฒนาทุน มนุษย์แก่เยาวชน เพื่อให้สามารถก้าวผ่านช่วงเปลี่ยนในชีวิตของเยาวชนไปได้ และพร้อมเป็นกำลังสำคัญ ของประเทศชาติต่อไป ดังแสดงให้เห็นในภาพประกอบที่ ๑
-------ภาพประกอบที่ ๑ “เลนส์เยาวชน” ชี้ให้รัฐบาลเห็นถึงถึงความสำคัญของช่วงเปลี่ยนของเยาวชนวัยเรียนหัวใจสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ที่มา สุภัทร ชูประดิษฐ์ (นักศึกษาปริญญาเอก สาขาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา – แขนงวิชาการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ศูนย์วิจัยเพื่อการศึกษาและแรงงาน (CELS) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) จาก http://kc.hri.tu.ac.th/index.php
ปัจจัยภายนอกกับแนวโน้มการศึกษา
ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อแนวโน้มของการศึกษาในประเทศ แท้จริงแล้วไม่ได้มีเพียงเรื่องของกระบวนการสอน ครูผู้สอน หรือตัวเด็กเองเท่านั้น แต่รวมไปถึงปัจจัยภายนอกที่สำคัญและมีผลกับความสำเร็จและการพัฒนาของการศึกษาในประเทศ จะพัฒนาได้ดีขึ้นมากน้อยเพียงใด จะเจริญทัดเทียมหรือมากกว่าประเทศอื่นๆได้นั้นจึงจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ศึกษาปัจจัยภายนอกต่างๆด้วย ดังเช่น ๕ ประการที่สำคัญที่มีผลต่อแนวโน้มของการศึกษาไทยในอนาคต ดังต่อไปนี้
๑. ปัจจัย ด้านเทคโนโลยี
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีผลต่อการกำหนดคุณสมบัติและคุณภาพของแรงงานใน อนาคต เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการขนส่ง เทคโนโลยีการผลิต นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ ฯลฯ มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องมีการเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในหลักสูตรการเรียนการสอน และปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
๒. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลต่อตลาดแรงงานและ ตลาดการศึกษา เนื่องจากการกำหนดลักษณะของแรงงานที่ต้องการ อาทิ เศรษฐกิจ ใหม่ จะแข่งขันกันด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนา ดังนั้น การศึกษาต้องพัฒนาคนให้มีทักษะการทำวิจัย ให้สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจ การเปิดเสรี ทางการค้าและการลงทุน เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า และเงินลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ต้องลดการกีดกันการแข่งขันเท่านั้น ยังต้องแข่งขันกันด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งต้องอาศัยแรงงานที่มีฝีมือ มีทักษะความสามารถที่หลากหลาย เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ การบริหาร ฯลฯ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
๓. ปัจจัยด้านระบบราชการ
การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเคลื่อนไป อย่างยากลำบาก เนื่องด้วยระบบราชการเป็นอุปสรรค ซึ่งเกิดจาก ความล่า ช้าในการประสานงาน เนื่องจากการทำงานตามระบบราชการไทย มักทำงานแบบต่างคนต่างทำไม่ไปในทิศเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะของการรวมศูนย์ที่ส่วนกลางมากเกินไป การทำงานแบบราชการ ที่ยึดกฎระเบียบตายตัว ขาดความยืดหยุ่น และเอื้อต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาและครูบางส่วนที่ไม่ยอมปรับ ตัว
๔. ปัจจัยด้านการเมือง
กล่าวกันว่า การปฏิรูปหรือพัฒนาการจัดการศึกษาจะสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับการเมืองมากกว่าแนวทางและวิธีการ แต่หากการเมืองไทยมีเงื่อนไขบางประการที่เป็นอุปสรรค จะส่งผลให้การปฏิรูปการศึกษาไทยไม่ก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จเท่าที่ควร บางครั้งผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งจึงมิใช่ผู้มีความรู้ในด้านการศึกษาอย่างแท้จริง ความไม่สอดคล้องของเป้าหมายของการ จัดการศึกษากับเป้าหมายทางการเมือง เป้าหมายของนักการเมืองหลายคนคือ ต้องการคะแนนนิยม จึงมีนักการเมืองจำนวนไม่น้อยที่ไม่ดำเนินนโยบายที่ให้ผลในระยะยาว เนื่องจากเสี่ยงที่จะทำให้ตนเองไม่เป็นที่นิยมทางการเมือง ซึ่งนั่นหมายความรวมถึงนโยบายการศึกษา ดังนั้นนักการเมืองจึงเลือกดำเนินนโยบายที่เห็นผลในระยะสั้น เพื่อทำให้ตนเองได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้ง อันเป็นอุปสรรคยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาไทย
๕.   ปัจจัยด้านวัฒนธรรม
สังคมไทยมีเงื่อนไขทางวัฒนธรรมหลาย ประการเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาไทย ดังเช่น การขาดวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม สังคมไทยในปัจจุบันขาดความเหนียวแน่น ขาดความร่วมแรงร่วมใจ คนในสังคมจึงมองการศึกษาว่าเป็นเรื่องของรัฐบาลไม่เกี่ยวกับตนเอง รักความสนุกและความสบาย คนไทยส่วนใหญ่สนใจความบันเทิงมากกว่าการแสวงหาความรู้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
อีกทั้งสังคมไทยยังมีลักษณะสังคมอุปถัมภ์ เห็นแก่พวกพ้องมากกว่าส่วนร่วม ผู้ที่มีอำนาจมักแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยที่ประชาชนไม่กล้าขัดขวาง เพราะต้องพึ่งพาอาศัย ดังนั้น เมื่อมีการกระจายอำนาจทางการศึกษา อาจกลายเป็นแหล่งผลประโยชน์ให้กับผู้มีอิทธิพลได้หากควบคุมไม่ดี (ดร. เกรียง ศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์,
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด)
แนวโน้มของการศึกษาไทย
การวิเคราะห์การศึกษาในประเทศภายใต้การใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อีกทั้งความพยายามของทุกส่วนในการมุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาในประเทศที่ผ่านมา นั้นสามารถมองให้เห็นถึงสภาพที่ยังไม่มีการพัฒนาอย่างชัดเท่าทีควร จึงสามารถแบ่งออกได้เป็นแนวโน้มในอนาคตเป็น๒ ด้านในด้านบวกและด้านลบ ต่อไปนี้
แนวโน้มด้านบวก
๑. หลักสูตรใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก          จากการเปลี่ยนแปลงและการ แข่งขันในด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ทำให้คนในสังคมต้องการเพิ่มความรู้ความสามารถให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จึงหันมาสนใจศึกษาต่อในหลักสูตรที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ดังนั้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนในสังคมสถาบันการศึกษาจึงมุ่งพัฒนาหลักสูตร ใหม่ ๆ อาทิ หลักสูตรที่บูรณาการระหว่างสองศาสตร์ขึ้นไป เช่น ระดับอาชีวศึกษาหลักสูตรเดียวจะมีหลายสาขาวิชา เรียนช่างยนต์จะผนวกการตลาดและการบัญชีเข้าไปด้วย เป็นต้น หลักสูตรที่ให้ปริญญาบัตร 2 ใบ และมีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยตลอดเวลา
๒. หลักสูตรนานาชาติมีแนวโน้มมากขึ้น           เนื่องจากสภาพยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุน ทำให้ตลาดแรงงานในอนาคตต้องการคนที่มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ ส่งผลให้ความต้องการการศึกษาที่เป็นภาษาสากลมีมากขึ้น ที่สำคัญการเปิดเสรีทางการศึกษา ยังเป็นโอกาสให้สถาบันการศึกษาจากต่างประเทศเข้ามาจัดการศึกษาในประเทศไทย และเปิดหลักสูตรภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ ยิ่งมีส่วนกระตุ้นให้หลักสูตรการศึกษานานาชาติมีแนวโน้มได้รับความนิยมมาก ขึ้น แต่เนื่องจากหลักสูตรนานาชาติมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น การเรียนในหลักสูตรนี้ยังคงจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้เรียนที่มีฐานะดี
๓. การจัดการศึกษามีความเป็นสากลมากขึ้น           สภาพโลกาภิวัตน์ที่ มีการเชื่อมโยงในทุกด้านร่วมกันทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายองค์ความรู้ กฎกติกา การดำเนินการด้านต่าง ๆ ทั้งการค้า การลงทุน การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เชื่อมต่อถึงกัน ประกอบการเปิดเสรีทางการศึกษา ส่งผลให้เกิดการหลั่งไหลหลักสูตรการเรียนการสอน บุคลากรด้านการสอน หลักสูตร จากสถาบันการศึกษาต่างประเทศเข้าสู่ไทย อันมีผลทำให้เกิดการเปรียบเทียบและผลักดันให้สถาบันการศึกษาไทยต้องพัฒนาการ จัดการศึกษาที่มีความเป็นสากลที่เป็นที่ยอมรับ อีกทั้งการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนกับนานาประเทศของไทย ได้ส่งผลให้เกิดความต้องการการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมในระดับสากล
๔. ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษาลดลง          เนื่องจากสภาพการ เรียกร้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกระแสระดับโลกเกิดขึ้นควบคู่กับคลื่น ประชาธิปไตยแผ่ขยายวงกว้างถึงไทย รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ส่งเสริมการเพิ่มสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน อีกทั้งสภาพการใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการเรียนการสอน ทำให้ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงคนได้อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม อาจเป็นได้ว่าความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษาจะลดลงในกลุ่มสถาบันการ ศึกษาของรัฐ ส่วนการจัดการศึกษาโดยสถาบันการศึกษาเอกชน ผู้เรียนที่ครอบครัวมีรายได้น้อยอาจเข้ารับบริการทางการศึกษาได้ลดลง เนื่องจากค่าเล่าเรียนแพง
๕. โอกาสรับบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น          เมื่อเปิด เสรีทางการศึกษา จะก่อเกิดการแข่งขันในการจัดการศึกษาทั้งจากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่าง ประเทศมากขึ้น หากพิจารณาในแง่บวก การเปิดเสรีทางการศึกษา เป็นการสร้างโอกาสให้คนไทยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เนื่องด้วยสถาบันแต่ละแห่งจะแข่งด้านคุณภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันอุดมศึกษา คุณภาพการศึกษาจะเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เนื่องจากการเปิดเสรีทางการศึกษา ที่เปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาต่างชาติเข้ามาเปิดการเรียนการสอน จึงเป็นแรงกดดันให้สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น
แนวโน้มด้านลบ
๑. การเพิ่มช่องว่างด้านคุณภาพในการจัดการศึกษา          แม้ว่าสภาพ การแข่งขันทางการศึกษาจะเป็นแรงผลักให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ เร่งพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น แต่เนื่องจากทรัพยากรตั้งต้นของแต่ละสถาบันการศึกษามีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความสามารถและปริมาณของบุคลากรการศึกษา งบประมาณ เงินทุน เทคโนโลยี สถานที่ ความมีชื่อเสียง ฯลฯ ส่งผลให้โอกาสพัฒนาคุณภาพการศึกษาย่อมแตกต่างกันด้วย โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาขนาดเล็ก หรือสถาบันการศึกษาที่ยังไม่มีความพร้อม/มีทรัพยากรตั้งต้นไม่มาก ย่อมไม่มีศักยภาพเพียงพอในการพัฒนาคุณภาพมากนัก
๒. การผลิตบัณฑิตเกินความต้องการของตลาด          เนื่องจากความต้อง การศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามีสูงขึ้น และการพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ต้องหาเลี้ยงตนเอง มีอิสระในการบริหารและเปิดหลักสูตรเพื่อหาผู้เรียนเข้าเรียนให้ได้จำนวนมาก สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบระยะยาวคือ มีบัณฑิตจบเป็นจำนวนมากเข้าสู่ตลาดแรงงานไม่สามารถรองรับได้หมด โดยกลุ่มแรงงานระดับอุดมศึกษาที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่จบจากสาขาที่ตลาดแรงงาน ต้องการ จะถูกผลักสู่แรงงานนอกระบบ หรือหาทางออกโดยเรียนต่อระดับสูงขึ้น ซึ่งอาจก่อเกิดภาวะแรงงานระดับปริญญาโทและเอกไม่มีคุณภาพและล้นตลาดตามมา เช่นกัน
๓. การสอนทักษะการคิดและทักษะทางอารมณ์ยังไม่มีคุณภาพ           สภาพ เศรษฐกิจที่มุ่งแข่งขัน ทำให้การจัดการศึกษามุ่งพัฒนาทางวิชาการเป็นสำคัญ ในขณะที่ระบบการศึกษาไทยยังไม่สามารถพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนได้เท่าที่ ควร เนื่องจากการเรียนการสอนยังมุ่งสอนให้ผู้เรียนคิดตามสิ่งที่ผู้สอนป้อนความ รู้มากกว่าการคิดสิ่งใหม่ ๆ ประกอบกับครูผู้สอนมีภาระงานมาก จนส่งผลต่อการพัฒนาบุคคลในด้านอื่น เช่น การพัฒนาเชิงสังคม รวมถึงการพัฒนาทักษะทางอารมณ์ นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีในกิจวัตรประจำวันหรือใช้ในการเรียนการสอน ทำให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ลดลง ส่งผลให้ช่องทางการพัฒนาทักษะทางอารมณ์และทักษะทางสังคมของผู้เรียนลดลงด้วย
๔. การสอนคุณธรรมจริยธรรมยังไม่มีคุณภาพ           แนวคิดของทุนนิยมที่ มุ่งแข่งขันได้แพร่กระจายไปทั่วโลก ส่งผลให้ผู้คนต่างมุ่งแข่งขัน และพัฒนาความรู้ความสามารถ เพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประกอบกับสถาบันการศึกษาจำนวนมากมุ่งพัฒนาความรู้ทางวิชาการ และประเมินผลการเรียนที่ความสามารถทางวิชาการ จนอาจละเลยการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม นอกจากนี้ การไม่ได้มีผู้สอนที่รู้เชี่ยวชาญด้านการสอนคุณธรรมจริยธรรมโดยตรงหรือมี คุณภาพ ย่อมส่งผลต่อคุณภาพการสอนของวิชาคุณธรรมจริยธรรมได้
๖. การสอนภาษาต่างประเทศยังไม่มีคุณภาพ          ยิ่งก้าวสู่โลกไร้พรมแดนมากขึ้นเท่าใด ผู้มีความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีนที่ผู้คนส่วนใหญ่ในโลกใช้ติดต่อสื่อสาร เจรจาต่อรอง การค้า การศึกษา ฯลฯ ย่อมมีความได้เปรียบ ทั้งในเรื่องการติดต่อสื่อสารและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบคือ การสอนภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศของไทยยังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร โดยเฉพาะภาษาอังกฤษแม้ปัจจุบันจะตื่นตัวมากขึ้น แต่ยังไม่ก้าวหน้าไปมากเท่าที่ควร เพราะทรัพยากรด้านบุคลากรสอนภาษาต่างประเทศนี้ขาดแคลนมาก (ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, แนวโน้มการศึกษาไทยในครึ่งทศวรรษหน้า  วันที่ : 14 มิถุนายน 2550 นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : การศึกษาวันนี้)
สรุป
ประเทศไทยยังต้องการ การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารให้มีประสิทธิภาพโปร่งใสและเป็นธรรม การกระจายงบประมาณที่เป็นธรรม ปฏิรูปการใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมของประเทศ โดยความร่วมแรงร่วมใจทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะด้านการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนก็ควรให้สอดคล้องกับการทำงานของสมองของผู้เรียนและมีคุณภาพที่ใช้งานได้ เช่น อาจจัดโครงการที่มุ่งพัฒนาครูอาจารย์ ผู้บริหารการศึกษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องการสร้างแรงจูงใจให้คนเก่ง คนดี อยากเข้ามาเป็นครู และสร้างความมั่นใจ และมั่นคงในอาชีพครูมากขึ้น เช่น ปฎิรูปการฝึกหัดครู ปฎิรูปการคัดเลือก การทำงานแบบส่งเสริมความพอใจและความก้าวหน้าของครูด้วย
ผู้เขียนมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า หากวางรากฐานพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่แรกเกิด และพัฒนาศักยภาพ ขีดความสามารถด้านต่างๆประเทศไทยเราก็จะมีผู้ที่เข้ามาร่วมพัฒนาชาติบ้านเมืองอย่างแน่นอน ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นกระบวนการที่มุ่งพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพมีความสามารถเต็มตามศักยภาพมีพัฒนาการที่สมดุลทั้งปัญญา จิต ใจ ร่างกายและสังคม รวมไปถึงการอบรมจากผู้ปกครองแนะนำบุตรหลานอย่างถูกต้อง ให้เลือกเรียนหรือ อบรมบ่มนิสัยให้รักการเรียนรู้ทุกรูปแบบ รักการอ่าน แสวงหาความสามารถพิเศษ ที่ชื่นชอบและโดดเด่นของตัวเอง เป็นการทำให้เด็กรู้สึกรักและตั้งใจเรียนยิ่งขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามควรต้องศึกษาเพื่อให้เข้าถึงผู้เรียนด้วยเพื่อให้ได้รับพัฒนาการอย่างแท้จริง ควรให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งปลูกฝังการรักที่จะเรียนรู้ต่อไปอันเป็นคุณสมบัติที่ สำคัญในโลกยุคข้อมูลข่าวสารหรือสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน
........................................................
บรรณานุกรม

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.   แนวโน้มการศึกษาไทยในครึ่งทศวรรษหน้า.  (ออนไลน์)  เข้าถึงได้  จาก  http://blog.eduzones.com/drkrieng/7005.  ค้นเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๓,
                       
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง.  บทความการศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี.   ๒๕๕๒   
          วันพุธที่ 22 กรกฏาคม ๒๕๕๒.  ค้นเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๓,

สุภัทร ชูประดิษฐ์. ศักยภาพเยาวชน มิติทางการศึกษากับการพัฒนาทุนมนุษย์. (ออนไลน์)  เข้าถึง  ได้ จาก http://kc.hri.tu.ac.th/index.php.  ค้นเมื่อวันที่                             
                      
อภิสิทธิ์  กฤษเจริญ.   การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชน:   คาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลในทศวรรษหน้า. 
                      

การวิเคราะห์บทความเรื่อง “โลกธรรม 8 กับผม” ของท่าน ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์(EA713)

ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทความจากการวิเคราะห์
: สรุปบทความโดยย่อได้ว่า    บทความเรื่อง “โลกธรรม 8 กับผม” ของท่าน
ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำงานในชีวิตราชการ พร้อมกับการน้อมนำพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้แก่ “โลกธรรม 8 กับผม” คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และทุกข์ ตลอดจนเรื่องของกฎไตรลักษณ์คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
ท่านได้เล่าเรื่องราวในขณะที่ทำงาน ตั้งแต่เริ่มต้นเป็นพนักงานระดับต้น จนขึ้นสู่ระดับสูงสุด เรื่องของลาภ ยศ สรรเสริญ และสุขนั้นมีเข้ามาให้เห็นตลอด ขึ้นอยู่กับว่าตนเองเลือกจะปฏิบัติเช่นใดกับเหตุการณ์เหล่านั้นบุคคลเหล่านั้น  ซึ่งในฐานะผู้บริหารหรือผู้นำที่ดี ยึดมั่นในคุณธรรม สอดคล้องกับการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล ตลอดระยะเวลาการทำงาน ท่านยังพิจารณาเห็นถึงโลกธรรม 8 ที่ว่าด้วยความ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และทุกข์ เมื่อถึงวันที่สิ่งเหล่านั้นจะต้องจากไปเป็นเรื่องธรรมชาติ เนื่องจากจำต้องเกิดขึ้นกับคนทุกคน เป็นของแน่นอนที่สุด จะปฏิเสธไม่ได้ว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข ที่ได้มานั้นต้องจากไปเป็นความจริง เป็นธรรมดา ธรรมชาติ ตามกฎไตรลักษณ์คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เรื่องอนิจจังหรือความไม่แน่นอนนั้น
ต้องพบเจอกันทุกคน เราไม่สามารถยื้อยุดไว้ตลอดกาลอย่างนั้น 
------
( ที่มา http://gotoknow.org/blog/udomran99/282264 )
1)    :จากบทความได้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงในสังคมไทย ใน
โครงสร้างองค์การ(Organization Structure)องค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการ หรือ เอกชน ยังคงคาดหวังเรื่องผลประโยชน์ และไม่สามารถแยกออกเรื่องพวกพ้อง ผู้คนยังคงต้องการระบบ อุปถัมภ์ อยู่เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากว่าไปแล้ว หากมีระบบอุปถัมภ์เข้ามามากเกินไปก็จะทำให้องค์กรนั้นๆไม่พัฒนา หรือพัฒนาไปอย่างช้า การทำงานเคลื่อนที่อย่างไม่มีประสิทธิเท่าที่ควร อยากขอยกแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber ) ที่พยากรณ์ว่า ความก้าวหน้าจำเป็นต้องดำเนินการบริหารอย่างมีรูปแบบมากขึ้น จึงได้ปรับแนวคิดให้เป็นรูปแบบขององค์การที่ชัดเจนเรียกว่า “ระบบราชการ (Bureaucracy)” (ศิริพงษ์ เศาภายน, 2552 : 28) โดยกำหนดโครงสร้างไว้ดังนี้

ü    มีลำดับขั้นตอนของอำนาจไว้ชัดเจน
ü    มีการแบ่งงานชัดเจน
ü    มีกฎเกณฑ์ที่เป็นไปโดยระบุสิทธิ หน้าที่ ของตำแหน่งงานไว้ด้วย
ü    มีการดำเนินการปฏิบัติงานอย่างมีระบบตามสภาพของงาน
ü    ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไม่มี
ü    การสรรหาบุคคลเพื่อจ้างงานและการเลื่อนระดับขึ้นอยู่กับความสามารถพื้นฐานทางด้านเทคนิค
หากจะแบ่งประเภทขององค์การตามพื้นฐานของสังคม หรือตามความรู้สึกในการมีส่วนร่วม ได้แก่ องค์การปฐมภูมิและ องค์การทุติยภูมิ แบ่งตามลักษณะโครงสร้าง หรือการจัดระเบียบในองค์การ ได้แก่ องค์การแบบเป็นทางการหรือรูปนัย และ องค์การแบบไม่เป็นทางการ หรืออรูปนัยดังต่อไปนี้
--------
ตาราง 1.1 แสดงประเภทขององค์การ 4 ลักษณะ
2)    : ทั้งนี้ยังเห็นได้ว่าการเป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จได้นั้นยังต้อง
ศึกษาและเข้าใจใน ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรม ที่มีอยู่ในองค์การ นั่นคือวัฒนธรรมองค์การ(Organization Culture) รวมไปถึงด้านความรู้สึกนึกคิด ความคาดหวัง ค่านิยม หรือแม้แต่บรรทัดฐานต่างๆที่สมาชิกในองค์การต่างก็ยอมรับ จึงจำเป็นต้องศึกษาเพื่อให้เข้าใจและสามารถเข้าถึงบุคคล ที่ต้องทำงานร่วมกันนั้นให้ได้ อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมองค์การในแต่ละองค์การนั้นยังมีหลายรูปแบบด้วยกัน ตัวอย่างเช่น
2.1 วัฒนธรรมองค์กรที่อยู่ในรูปของอุดมการณ์ (Ideology)  ยกตัวอย่าง กลุ่มบริษัทในเครือซิเมนต์ไทยคือ
ตั้งมั่นในความเป็นธรรม
มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ
เชื่อถือในคุณค่าของคน
ถือมั่นในความรับผิดชอบของคน

2.2    วัฒนธรรมองค์กรที่อยู่ในรูปของปรัชญา(Philosophy) ยกตัวอย่างบริษัทเครือ
เจริญโภคภัณฑ์หรือ CP Group คือ
มีปรัชญาในการดำเนินธุรกิจที่ว่า “ให้นึกถึงคนอื่นก่อน”
2.3 วัฒนธรรมองค์กรที่อยู่ในรูปของค่านิยม (Values) ยกตัวอย่างบริษัท ไทยอคริริคไฟเบอร์ จำกัด คือ          
       พนักงาน “เป็นหนึ่งเดียว ซื่อสัตย์ ยุติธรรมและมีความซื่อตรงอันเป็นกล
       ยุทธ์พื้นฐานที่เรายึดมั่นในการพัฒนาบุคลากรของเรา”
       ลูกค้า       “ลูกค้าคือจุดมุ่งเน้นที่เราทำทุกอย่าง”
      รัฐบาล     “เราพยายามที่จะเป็นบรรษัทภิบาลเสมอ”
      สิ่งแวดแล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย
                      “เราให้คำมั่นสัญญาว่าจะปกป้องสภาพแวดล้อมและจะพัฒนาที่ชุมชนที่   เราดำเนินการอยู่”
จากการศึกษาของ Daniel R. Denison (1990) ในปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การและประสิทธิผลขององค์การ พบว่าวัฒนธรรมองค์การจะส่งผลต่อประสิทธิผล (Effectiveness) ขององค์การเป็นอย่างมาก เมื่อวัฒนธรรมนั้นก่อให้เกิด
     การผูกพัน (Involvement) และการมีส่วนร่วมในองค์การ
     การปรับตัว (Adaptability) ที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของ
สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ
     การประพฤติปฏิบัติได้สม่ำเสมอ (Consistency) ซึ่งจะทำให้เกิดการ
ทำงานที่ประสานกันและสามารถคาดหมายพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้
     มีภารกิจ (และวิสัยทัศน์) ขององค์การที่เหมาะสม ทำให้องค์การมีกรอบ
และทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน
ปัจจัยทั้ง 4 ส่วนนี้ จะทำให้องค์การสามารถบรรลุสู่ประสิทธิผล (Effectiveness) ตามที่ต้องการได้ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การจึงมีความสำคัญที่จะสนับสนุนให้องค์การบรรลุสู่วิสัยทัศน์ และภารกิจ ที่กำหนดอย่างเหมาะสม

ดังตัวอย่างขององค์กรในบทความเรื่อง “โลกธรรม 8 กับผม” นั้นคือ ลักษณะที่ลูกน้องหรือผู้ที่เกี่ยวข้องต้องการที่จะเข้ามาขอความช่วยเหลือหรืออย่างไรก็แล้วแต่ พวกเขามักจะมีสิ่งของมามอบให้อยู่เสมอ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นของมีค่า บางชิ้นเกินกว่าจะรับไว้ไหว ดูเหมือนการให้สินบน จึงเกิดเป็นของตัวผู้บริหารเองว่าจะรับไว้ หรืออย่างไร สถานการณ์เช่นใดควรไม่ควร เป็นเรื่องของการตัดสินใจอีกที หากตัดสินว่าสิ่งนั้นๆเป็นเรื่องไม่ดีทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ดีต่อองค์กรในอนาคต ก็จะระงับไม่ให้เกิดขึ้นอีก
    ภาพประกอบ 2.1 มิติของวัฒนธรรมองค์การ (ศิริพงษ์ เศาภายน , 2552 : 72)
  ------
ผู้บริหารยังสามารถใช้วิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลซึ่งมีอยู่ในลักษณะในตัวของผู้นำยุคใหม่สำรวจองค์กรดูว่า ปัจจุบันผู้คนในองค์กรมักมีพฤติกรรมแนวปฏิบัติหรือวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดบ้าง แล้วจึงนำเอาพฤติกรรมเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับทิศทางที่องค์กรมุ่งที่จะไป เพื่อดูว่าพฤติกรรมใดที่จะทำหน้าที่ธำรงรักษา ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย และพฤติกรรมใดที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการก้าวไปข้างหน้าขององค์กร ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนา
หลังจากนั้น องค์กรจึงนำเอาพฤติกรรมที่ต้องการเห็นพนักงานทุกคนถือปฏิบัติเหล่านี้ มากำหนดเป็นค่านิยมหรือวัฒนธรรมขององค์กร การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ก็เหมือนกับการปลูกฝังวัฒนธรรมหรือขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ให้แก่ผู้คนในสังคม ผู้บริหารจำเป็นต้องสื่อสาร เน้นย้ำ ทำตัวเป็นตัวอย่าง ว่ากล่าวตักเตือนเมื่อไม่ปฏิบัติตาม และให้รางวัลเมื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง

3)    : โดยบทความชี้ให้เห็นถึงการบริหารงานของดร.พนม  พงษ์ไพบูลย์ว่า
เป็นผู้บริหารงานในระบบราชการนั้นนอกจากจะเก่งด้านบริหารงานแล้วยังต้องเก่งด้านบริหารคนหรือ ทรัพยากรมนุษย์ จ้างงานผู้ที่มีความสามารถ มาทำหน้าที่ๆพวกเขาถนัด มองคนๆนั้นให้ออกรู้ว่าต้องปฏิบัติหรือใช้คำพูดสั่งการอย่างไรต่อผู้ใต้บังคับบัญชาของตน เช่นเดียวกันกับการศึกษาทฤษฏีแนวคิดต่างๆด้านมนุษยสัมพันธ์และเชิงพฤติกรรมศาสตร์(The Theory of Human Relation & Behavioral Science Approach)
ดังคำที่กล่าวไว้ว่า  Put the Right Man On the Right Job ( At the Right Time ) เพื่อให้กลายเป็นพนักงานที่มีคุณภาพ เป็นผู้ที่มีวินัย ซื่อสัตย์ต่อองค์กร มีจรรยาบรรณ ผู้บริหารจะต้องเลือกให้ถูกคน ให้ถูกงาน ให้ถูกที่นั่นเอง หรือแม้แต่ทฤษฏี X และทฤษฏี Y ของ ดักลาส แมกเกรเกอร์ (Douglas McGregor)หนึ่งในแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ที่เข้ามาหลังระบบราชการ เพื่อให้ขวัญกำลังใจและความพึงพอใจ ให้แรงจูงใจคนงานเพื่อทำให้องค์การเป็นไปตามจุดมุ่งหมายยิ่งขึ้น  (ศิริพงษ์ เศาภายน , 2552 : 56)

ทฤษฎี x มอง คนในทางลบ    ทฤษฎี Y มอง คนในทางบวก
1. ไม่ ชอบทำงาน ชอบเลี่ยงเมื่อมีโอกาส
    ต้องเอาวินัยมาใช้ แบบสั่งการ มีการบังคับ ชี้แน่ะ ควบคุม อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ผลสำเร็จได้ แต่ต้องความเป็นธรรมโปร่งใส เมตตา ปราณีให้มีทั้ง พระเดช และพระคุณด้วย ให้ความต้องการที่สมควรและเป็นไปได้เพื่อที่จะให้บุคลากรมี ความก้าวหน้าในอาชีพการงานต่อไป    1. รัก และชอบทำงาน มีการจูงใจตัวเอง ความพอใจในการที่ทำ    ถ้าสถานศึกษาใดมีบุคลากรที่เป็น ประเภทนี้ ถือได้ว่าเป็นความโชคดีขององค์กร ต้องคอยให้กำลังใจ โดยการยกย่อง ชมเชย และส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองทั้งทางด้าน เทคนิค และความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ แต่ต้องระวังบางครั้งก็นอกกรอบ หลงตัวเองจนเกินไป ต้องดึงกลับมาบ้าง
2. มี ความทะเยอทะยานน้อย
        2. ความสามารถควบคุม ตัวเอง เพื่อให้ทำงานได้บรรลุเป้าหมาย กระตือรือร้น   
3. หลีกเลี่ยงความรักผิดชอบ แต่ต้องการความมั่นคงในชีวิต        3. มีความคิดสร้างสรรค์ต้องการความรับผิด ชอบพัฒนาตนเอง   
--------
ตาราง 3.1 ทฤษฏี X และ Y ของ ดักลาส แมกเกรเกอร์ และแนวในการบริหารจัดการ             
     ซึ่งเป็นไปไม่ได้ว่ามนุษย์ทุกคนบนโลกจะแบ่งออกได้เพียง 2รูปแบบนี้เท่านั้น ดังนั้น ศาสตราจารย์วิเลียม จี โออุชิ (William G. Ouchi) ได้คิดพัฒนารวมสองทฤษฏี X Y พัฒนาเป็น ทฤษฏี Z ทางการศึกษา ได้นำทฤษฎีดังกล่าวมาใช้กับ บุคลากรทางในสถานศึกษาเช่น พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง นักการภารโรง ลูกจ้างประจำ หรือลูกจ้างชั่วคราว เป็นต้นซึ่งทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการจ้างงานเป็นแบบระยะยาว มีข้อตกลงกับพนักงานทุกคนเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของเขาและครอบครัว ยังหมายถึงความเชื่อถือ ความถ่อมตน ความสนิทสนม
ประเด็นค่านิยม
เชิงวัฒนธรรมองค์การ    ทฤษฎี  J ทัศนะการบริหารงานแบบญี่ปุ่น    ทฤษฎี A ทัศนะการบริหารแบบอเมริกัน    ทฤษฎี Z  ผสมผสานทฤษฎี A +ทฤษฎี  J
Ÿ ความผูกพันต่อพนักงาน    จ้างตลอดชีวิตงาน    จ้างระยะสั้น
    การจ้างงานตลอดชีพรู้สึกผูกพันกับองค์กร
Ÿ การประเมินงาน    ช้าและเชิงคุณภาพ    เร็วและเชิงปริมาณ    การประเมินและเลื่อนตำแหน่งแบบช้าๆ
Ÿ เส้นทางอาชีพ    กว้างมาก    แคบเฉพาะด้าน    ชำนาญเฉพาะด้านไม่นิยมหมุนเปลี่ยน
Ÿ การควบคุม    ไม่ชัดเจนและไม่เป็นทางการ    ชัดเจนและเป็นทางการ    มีสมุดคู่มือชัดเจนแต่ควบคุมไม่เป็นทางการ
Ÿ การตัดสินใจ    โดยกลุ่ม ส่วนใหญ่    โดยบุคคล    โดยบุคคล
Ÿ ความรับผิดชอบ    โดยกลุ่มร่วมกัน    โดยบุคคล    โดยบุคคล
Ÿ การดูแลพนักงาน    คลุมกว้างทุกด้าน    ครอบคลุมบางด้าน    เสมือนเป็นครอบครัว
ตาราง 3.2 เปรียบเทียบระหว่างองค์การที่เชื่อในทฤษฏี J , A และ Z

    แนวคิดทฤษฎี Z ของ William G. Ouchi เป็นผลลัพธ์ ของสมการคือ Theory A + Theory J = Theory Z ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X และ Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอด คล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
    โดยแนวความคิดที่สำคัญของทฤษฏี Z คือ
    1. Trust คนในองค์กรต้องซื่อสัตย์ต่อกัน
    2. Subtlety คนในองค์กรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    3. Intimacy คนในองค์กรต้องมีความใกล้ชิดเป็น
4)    :จากบทความเห็นได้ว่าสอดคล้องเรื่องของ ภาวะผู้นำ
(Leadership)ลักษณะผู้นำของท่านคือผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงานและตำแหน่งสูงสุดที่ท่านได้รับและสัมพันธไมตรีที่ดีต่อคนอื่นๆที่รายล้อม จนเป็นที่รักใคร่ อีกหนึ่งความสำคัญคือด้านมนุษย์สัมพันธ์ซึ่งเป็นหนึ่งในลักษณะภาวะผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ดังทฤษฏีของ ฟิดเลอร์ และคณะ(Fred Fiedler and Associates) ได้นำเสนอว่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จสูงจะต้องใช้แบบแผนของความเป็นผู้นำที่ขึ้นอยู่กับระบบแรงจูงใจ และความสามารถที่ผู้นำจะควบคุมและมีอิทธิพลต่อสถานการณ์ (ศิริพงษ์ เศาภายน , 2552 : 133)
------
ภาพประกอบ 4.1 ตัวแปรสำคัญตามทฤษฏีของ Fiedler (ศิริพงษ์ เศาภายน , 2552 : 134)
องค์ประกอบของสถานการณ์ 3 ประการ ได้แก่
1.    ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับสมาชิก
2.    โครงสร้างของงาน
3.    อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ของผู้นำ
     ซึ่งเป็นหนึ่งในสองทฤษฏีภาวะผู้นำตามอุบัติการณ์ที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งอีกหนึ่งทฤษฏีคือ ทฤษฏีวิถีทางสู่เป้าหมายที่ว่าด้วยความคาดหวังภาวะจูงใจ และเน้นที่ผู้นำที่ส่งผลต่อเป้าหมายของพนักงาน แต่จะรวมไปถึงเรื่องของรางวัลด้วย  (ศิริพงษ์ เศาภายน , 2552 : 139)
5)    :การที่ให้ความสำคัญกับพนักงาน รักษาสัมพันธภาพที่ดีกับ
ผู้ใต้บังคับบัญชานั้นคือลักษณะที่เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามในหาทางสู่ความสำเร็จขององค์กรด้วยเช่นกัน  ผู้เขียนคือ ดร.พนม  พงษ์ไพบูลย์ เป็นหนึ่งตัวอย่างของผู้บริหารผู้นำตามหลักธรรมาภิบาล(Good Governance of Leadership Styles)ที่แม้ว่าท่านจะเกษียณอายุการทำงานและหมดภาระหน้าที่ไม่มีความสัมพันธ์ลักษณะผู้บังคับบัญชาแล้ว แต่พวกเขาเหล่านั้นยังคงรักและเคารพท่านอยู่เหมือนเดิม 
จากบทความตอนหนึ่งที่ว่า  “มาถึงวันนี้ก็อีกไม่กี่เดือนแล้วที่ผมจะได้รับใช้แผ่นดินในฐานะข้าราชการประจำ ผมลองสังเกตพฤติกรรมของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับผม ............ผมดีใจและชื่นชมที่เห็นคนส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมที่ มีต่อผม”  จะปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันการบริหารงานและปกครองคนไปพร้อมๆกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือยึดมั่นตาม “หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)” ของผู้บริหารซึ่งมี 8 หลักการที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกหน่วยงานได้แก่  
1 หลักความโปร่งใส
ปรับปรุงกลไกการทำงานทุกองค์กรให้โปร่งใส เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตรวจสอบได้
2 หลักนิติธรรม
การตรากฎหมาย และกฎข้อบังคับ ให้สังคมปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับเหล่านั้น
3 หลักความรับผิดชอบ
ตระหนักในสิทธิหน้าที่ แก้ปัญหา ตลอดจนกล้าที่จะยอมรับผลจาก การกระทำของตน
4 หลักความเสมอภาค
เท่าเทียมกันในสังคม สามารถเข้าถึงการ บริการได้เท่าเทียมกัน
5 หลักคุณธรรม
ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อเป็น ตัวอย่างแก่สังคม ซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ
6 หลักความคุ้มค่า
ใช้ทรัพยากรพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ ส่วนรวม ให้คนไทยมีความประหยัด
7 หลักการมีส่วนร่วม
เช่นใช้สิทธิฐานะ ตำแหน่ง หน้าที่ๆมีอยู่ของตนร่วมทำประชาพิจารณ์ , การเลือกตั้ง ฯลฯ
8 หลักความสอดคล้อง
สอดคล้องกับความต้องการของสังคม และวัฒนธรรมที่แตกต่าง เพื่อลดความขัดแย้ง
การสร้างกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวในด้านคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลในภาคราชการ เพื่อผลักดันให้เกิดองค์การสุจริตธรรมที่มีศักดิ์ศรี (Organizational Integrity) ในภาคราชการทุกระดับในวงกว้าง นอกเหนือจาก โลกธรรม 8 อีกหนึ่งเรื่องที่จะขอนำมากล่าวเพื่อเป็นอีกหนึ่ง ธรรมะในฐานะผู้นำผู้บังคับบัญชาในการปกครองที่ดี นั่นคือ “พรหมวิหาร 4” คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ตัวอย่างเช่น
                             “ ..ความหวังดีต่อลูกน้องผู้ใต้บังคับบัญชา คือ เมตตา
       ให้ความช่วยเหลือยามที่เขามีปัญหาช่วยแก้ปัญหาและให้กำลังใจ คือ กรุณา
            ยินดีเมื่อพวกเขามีความสุขประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน คือ มุทิตา
    ความเฉย วางเฉยต่อสิ่งยั่วยุที่ผิดต่อการปฏิบัติหน้าที่ คือ อุเบกขา ”

ผู้บริหารที่ดีจึงมักจะเป็นที่พึ่งที่ดีด้วย การเข้าถึงปัญหาของสมาชิกได้มากเท่าไหร่การบริหารโดยรวมก็จะยิ่งง่ายขึ้นเท่านั้น ด้านวินัยและพฤติกรรมจึงควรให้เหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อทุกคนปฏิบัติได้พร้อมเพรียงกัน ดังนั้นค่านิยมก็จะเกิดขึ้นและกลายเป็นวัฒนธรรมอันดีต่อองค์กรต่อไป หากกระทำไปหนึ่งครั้ง แล้วถ้าคนอื่นๆในทุกๆองค์กรทำเช่นเดียวกันแล้วประเทศชาติบ้านเมือง จะพัฒนาไปได้อย่างไรกัน
  : นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร
       บทความเรื่อง “โลกธรรม 8 กับผม” เนื้อเรื่องได้ให้ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานราชการ สถานศึกษา แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเรื่องของบทบาทผู้นำไว้หลายด้านด้วยกันเช่น
•    ลักษณะและภาวะผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ไม่เพียงแต่เก่งเรื่องของการบริหาร
จัดการเท่านั้น แต่หมายถึงการมีบุคลิกลักษณะและเข้าใจถึงเหตุของสัมพันธภาพระหว่างผู้ปฏิบัติงานในด้านต่างๆขององค์การ โดยเฉพาะการศึกษาด้านพฤติกรรมของมนุษย์หลายหลากประเภท ทำให้ง่ายต่อการบริหารงาน สั่งงาน

•    ทั้งยังให้ข้อควรคิดเรื่องของหลักคิดทางพระพุทธศาสนากับการทำงานเช่น โลก
ธรรม 8 และ หลักไตรลักษณ์นั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่ว่าอยู่ในสาขาอาชีพใดๆก็ล้วนแต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มีอยู่ในสังคมทุกแห่ง เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และทุกข์ ก็มีตามมาไม่อาจจะหลีกเลี่ยงไปได้เลย วันนี้ตนเองอาจจะมีเงินเดือนที่สูงลิ่วและรับผิดชอบงานน้อย อยู่อย่างสุขสบาย แต่วันหนึ่งต้องถูกโยกย้ายไปในสถานที่ทุรกันดาร อยู่อย่างทุกข์ลำบาก เช่นนี้ก็อาจเป็นได้ไม่มีใครล่วงรู้

จึงต้องพึงระลึกไว้ในข้อธรรมนี้ เตรียมพร้อมไว้เสมอ หรือเรื่องของทรัพย์สมบัติที่มีมายั่วยวนให้หลงอยากได้แต่ต้องแลกกับศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการพลเรือน ผู้ที่ได้ชื่อว่ารับเงินเดือนจากภาษีประชาชนในประเทศ สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยเนื่องจากมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม จำต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน เพียงแต่ต้องใช้สติในการที่จะสื่อสาร พูดคุย ให้ถูกเรื่องอย่างถูกต้องไม่ผิดกฎกติกาของสังคม มีวัฒนธรรมที่ดีเป็นกรอบให้ปฏิบัติและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งผลงานที่มีประสิทธิผล บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในที่สุด
•    การปกครองแบบฉบับพระพุทธศาสนา ตามหลักธรรมาภิบาล

•    ทั้งยังสามารถนำไปศึกษาต่อเพิ่มเติมเรื่องการปกครองสำหรับผู้บริหารใน
รูปแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในองค์กร และ ทฤษฏีการบริหารองค์การในระบบราชการ
•    รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ตามที่ได้ศึกษาทฤษฏี X Y A J Z กล่าวมา
สามารถนำไปใช้ได้กับทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการหรือเอกชน หากเป็นหน่วยราชการเช่นโรงเรียนได้แก่ข้าราชการ ,ครู ,อาจารย์ ,ผู้อำนวยการ และผู้บริหารระดับต่างๆในทุกองค์กร ทั้งหมดต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานซึ่งมาจากอย่างเคร่งครัด ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน  และดังที่กล่าวไปว่า ระบบราชการนั้นไม่ควรมีเรื่องของผลประโยชน์ พวกพ้องเข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้งหากเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานก็ควรเลือกผู้ที่เหมาะสมทั้งด้านความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง

•    แนวคิดและทฤษฏีต่างๆเพื่อที่จะได้นำมาดัดแปลง บริหารจัดการองค์กร
ปรับเปลี่ยนใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะวัฒนธรรมองค์กร ตัวอย่างเช่น หน่วยงานราชการเทศบาลตำบล นั่นคือองค์กรหนึ่งที่ใช้รูปแบบการบริหารระบบราชการ แม้ว่าคุณลักษณะของระบบการแบ่งงาน ลำดับขั้นของอำนาจจะค่อนข้างซับซ้อนและมีกฎเกณฑ์มาก ทำให้เกิดความเหินห่างทางสังคมระหว่างผู้บริหารกับผู้ร่วมงาน ซึ่งอาจทำให้ ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกจงรักภักดีต่อองค์กร รักในหน้าที่การงานน้อยลง ดังนั้นแนวคิดและทฤษฏีการบริหารองค์การในรูปแบบต่างๆ มาดัดแปลง ปรับใช้ในองค์กรได้ ทั้งในด้านวัฒนธรรมองค์กร พฤติกรรมมนุษย์ เอกัตบุคคล

รูปภาพแสดงให้เห็นถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย โดยตลอดมานานกว่า 30 ปี เป็นการชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกและสรรพสิ่งต่างๆ ในเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นทางสายกลางที่พอประมาณ ใช้หลักวิชาการที่มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อการพัฒนา องค์กร หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนประเทศให้มีความมั่นคงก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
จะเห็นได้ว่าข้อคิดที่ได้ดังที่กล่าวมาสามารถนำไปใช้ได้กับทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการหรือเอกชน หากเป็นหน่วยราชการเช่นโรงเรียนได้แก่ข้าราชการ ครู อาจารย์ ผู้อำนวยการ เป็นต้น ทั้งหมดต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานซึ่งมาจากอย่างเคร่งครัด  ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน  และดังที่กล่าวไปว่า ระบบราชการนั้นไม่ควรมีเรื่องของผลประโยชน์ พวกพ้องเข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้งหากเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานก็ควรเลือกผู้ที่เหมาะสมทั้งด้านความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง                 
คงน้อยคนนักที่จะได้ล่วงรู้อีกมุมมองในหน่วยราชการที่น่าสนใจ ถูกถ่ายทอดมาเป็นบทความ จากประสบการณ์รับราชการมากว่า 30ปี ของผู้เขียน ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านเป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จด้วยแล้วจึงทำให้รู้สึกโชคดีที่ได้อ่านสิ่งที่เป็นความรู้จากประสบการณ์ที่ท่านได้ถ่ายทอดออกมา( Tacit Knowledge) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวพฤติกรรมต่างๆ ที่มีอยู่จริงภายในองค์กร และหลักธรรมะ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้เลย ข้อคิดของการเป็นผู้นำที่ดีไม่ใช่แต่จะต้องเก่งเรื่องงาน แต่ต้องเข้าใจพนักงานด้วย และยิ่งไปกว่านั้นคือต้องยึดหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาหรือคุณธรรม ในหลักธรรมาภิบาลด้วย จึงจะเรียกได้ว่าพร้อมก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำแบบสมบูรณ์แบบ นำองค์กรให้ประสบความสำเร็จเช่นกัน พร้อมกันนั้นยังช่วยพัฒนาประเทศชาติให้พัฒนาไปอย่างยั่งยืน
บรรณานุกรม

ศิริพงษ์ เศาภายน.  (2552).  หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา: ทฤษฏีและแนว        
                ปฏิบัติ.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ :  บุ๊ค พอยท์.

วัฒนธรรมองค์การ.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  http://pirun.ku.ac.th/~g4968073
                /report/475521/Organization_Culture_by_2.doc.  (ค้นเมื่อ : 26 มีนาคม 2553).

ผู้บริหารมืออาชีพ.  (2552 , 2 สิงหาคม)  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://gotoknow.
    org/blog/udomran99/282264 (ค้นเมื่อ : 31 มีนาคม 2553).

สมหวัง  วิทยาปัญญานนท์.  (2550 , 20 สิงหาคม) ธรรมาภิบาลในองค์กร. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  http://www.budmgt.com/budman/bm01/good-org-governance.html (ค้นเมื่อ : 26 มีนาคม 2553).

อิศรพงษ์ แสงตะวัน.  (2552 , 14 มกราคม) เจ้าของทฤษฎีที่น่าสนใจ.  [ออนไลน์].  เข้าถึง  
  ได้จาก : http:// eduleadership2009.blogspot.com/2009/01/blog-post_3559.html (ค้นเมื่อ : 31 มีนาคม 2553).